(0)
วัดใจ........รูปเหมือนแกะไม้สะพานร้อยปี ครอบเงิน รุ่น ๒ สร้าง 200 องค์ ตอกเลข ๑๓๑ โค๊ดหงษ์ 2 ตัว รอยจารหลวงปู่








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องวัดใจ........รูปเหมือนแกะไม้สะพานร้อยปี ครอบเงิน รุ่น ๒ สร้าง 200 องค์ ตอกเลข ๑๓๑ โค๊ดหงษ์ 2 ตัว รอยจารหลวงปู่
รายละเอียด.รูปเหมือนแกะไม้สะพาน 100 ปี รุ่น 2 ครอบเงิน ตอกโค๊ด หมายเลข
ความเป็นมาของพระไม้แกะ รูปเหมือนหลวงปู่หงษ์ รุ่นสะพานร้อยปี
เดิมสะพานข้ามคลอง ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นสะพานไม้ ได้สร้างมาเป็นเวลานานกว่าร้อยปี อ้างอิงโดยคำบอกเล่าของหลวงปู่ ที่เล่าให้ฟังว่าตั้งแต่ท่านเกิดมา เมื่อจำความได้ก็มีสะพานนี้แล้ว (ปัจจุบันหลวงปู่มีอายุได้ 92 ปี หลวงปู่เกิดวันที่ 5 เดือนมีนาคม ปีมะแม ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2462) สะพานนี้น่าจะสร้างขึ้นก่อนท่านเกิดนับหลายสิบปี ท่านจึงเรียกชื่อว่า “สะพานร้อยปี”
เมื่อสะพานเดิมทรุดโทรมลง จึงได้รื้อสะพานไม้เดิมออก เพื่อก่อสร้างสะพานใหม่เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ผู้ดูแลการรื้อถอนสะพานได้ถอนเสาหัวสะพานขึ้นมา และได้นำเสาหัวสะพานที่รื้อถอนมาถวายหลวงปู่ ท่านได้กล่าวกับพระลูกศิษย์ให้เก็บไว้ที่สุสานทุ่งมนและคอยกำชับเสมอว่าให้ดูแลรักษาเสาไม้ไว้ให้ดี ไม่ให้ใครนำไปใช้งานอย่างอื่น ท่านกล่าวว่า “ไม้เสาสะพานนี้ได้อยู่กับดินนับร้อยปี พระแม่ธรณีท่านช่วยดูแลไว้เป็นอย่างดี จะหาไม้ลักษณะเช่นนี้ไม่มีอีกแล้ว อีก 500 ปีก็หาไม่เจอ ถือว่าเป็นของมงคลในตัวเอง”
หลวงปู่ได้ปรารภกับพระลูกศิษย์ คือพระญาติ ภูริสีโร ว่าไม้เสาสะพานนี้น่าจะนำไปสร้างเป็นพระ จะดีมาก แต่พระลูกศิษย์ก็ยังคิดไม่ออกว่าควรจะนำไปสร้างเป็นพระในลักษณะใด จนเมื่อมีคณะลูกศิษย์กลุ่มหนึ่งได้นำพระเครื่องซึ่งแกะจากงาช้างที่จัดทำขึ้นเอง มาขอให้หลวงปู่ปลุกเศกและจารที่ฐานพระ เมื่อหลวงปู่ได้พิจารณาการแกะพระจากงาช้าง ท่านได้เอ่ยปากชมว่าเป็นพระที่แกะได้สวยงาม ช่างแกะมีฝีมือดี พระลูกศิษย์จึงนึกขึ้นได้ว่าน่าจะนำไม้เสาสะพานมาแกะให้เป็นพระที่มีความสวยงามเหมือนพระที่แกะจากงาช้าง จึงกราบเรียนหลวงปู่ว่าไม้เสาสะพานที่หลวงปู่ให้เก็บรักษาไว้เพื่อสร้างพระนั้น น่าจะนำมาแกะเป็นพระขนาดเล็ก ให้ลูกศิษย์ช่วยกันทำบุญและนำไปบูชาติดตัว ซึ่งหลวงปู่ได้เมตตาอนุญาตให้ดำเนินการได้การพิจารณารูปแบบของพระที่จะแกะขึ้นมา เป็นประเด็นที่สรุปไม่ลงตัว จนในที่สุดพระญาติจึงกราบเรียนเสนอหลวงปู่ว่าควรจะแกะเป็นรูปเหมือนของหลวงปู่ เนื่องจากการสร้างพระแกะจากไม้เสาสะพานเป็นดำริของหลวงปู่เอง และไม้เสาสะพานนี้ก็เป็นไม้ของหลวงปู่เช่นกัน หลวงปู่เห็นชอบให้ดำเนินการตามที่พระญาติเสนอ
พระญาติได้รับเป็นธุระในการนำไม้เสาสะพานไปแกะเป็นพระ โดยติดต่อกับคณะลูกศิษย์เพื่อหาช่างแกะที่ฝีมือดี เพื่อแกะพระรูปเหมือนหลวงปู่ขนาดองค์เล็กๆ และได้ทำการตัดไม้ออกเป็นท่อนๆขนาด 3×3 ซม. ยาวประมาณ 60 ซม. พบว่าไม้เสาสะพานมีความแข็งมาก การเลื่อยผ่าไม้เป็นท่อนๆทำได้ยากกว่าไม้เนื้อแข็งชนิดอื่นๆ เมื่อผ่าไม้แล้วพบว่าเนื้อไม้ที่อยู่บริเวณผิวนอกมีสีคล้ำ ส่วนที่เป็นแก่นกลางยังคงมีสีเช่นเดียวกับไม้เนื้อแข็งอื่นๆ (สีแดงอมเหลืองคล้ายไม้มะค่า) จึงได้กราบเรียนให้หลวงปู่ทราบ หลวงปู่จึงบอกว่าไม้เสาสะพานนี้เป็นไม้จิก เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความแข็งมาก ปัจจุบันเป็นไม้หายาก
ไม้จิกเป็นไม้เนื้อแข็งที่เนื้อไม้แน่นมาก เนื้อไม้มีลายเสี้ยนค่อนข้างหยาบ เมื่อทดลองแกะขึ้นรูปจะทำได้ยากมาก ต่างจากการแกะงาช้างที่เนื้องาละเอียด ไม่แข็งกระด้างและมีความเหนียว จึงสามารถแกะรายละเอียดลวดลายต่างๆได้ง่าย แต่ไม้จิกนี้ไม่สามารถแกะลวดลายที่ละเอียดได้เพราะเสี้ยนหยาบและแข็งเปราะจะแตกบิ่นตามลายเสี้ยนได้ง่าย ความตั้งใจเดิมที่จะแกะรูปเหมือนหลวงปู่องค์เล็กๆขนาดเท่ารูปหล่อโลหะ (รุ่นนั่งรวย หรือรุ่นฉลองสมโภช) จึงทำไม่ได้ ต้องขยายขนาดขององค์พระให้ใหญ่ขึ้นเท่าที่ช่างแกะจะสามารถทำงานแกะรายละเอียดโครงเค้ารูปหน้าของหลวงปู่ได้
ลักษณะท่านั่งประจำของหลวงปู่ จะเป็นท่านั่งพับเพียบ โดยวางมือไว้ที่หัวเข่าทั้งสองข้าง หลวงปู่กล่าวให้ลูกศิษย์ฟังว่าท่านนั่งพับเพียบเช่นนี้มาตั้งแต่ท่านยังเป็นเด็ก จนท่านบวชก็นั่งท่านี้เป็นประจำ ท่านสามารถนั่งท่าเดียวนี้ได้นานหลายชั่วโมง ซึ่งบรรดาลูกศิษย์จะรู้ดีโดยเฉพาะในขณะที่ท่านนั่งในพิธีการต่างๆ ท่านจะนั่งนิ่งอยู่เป็นชั่วโมงโดยแทบจะไม่ได้ขยับตัวเลย
การแกะพระรูปเหมือนหลวงปู่ รุ่นสะพานร้อยปี จะใช้ช่างแกะเพียงคนเดียว อันที่จริงแล้วช่างแกะที่คณะลูกศิษย์ติดต่อให้ทำการแกะพระนี้จะรับแกะเฉพาะงาช้างกับไม้จันทน์หอม ซึ่งมีเนื้อละเอียดและเหนียว แต่ช่างแกะได้ตกลงรับงานนี้เพราะเป็นงานที่ท้าทายและอยากมีผลงานที่เป็นส่วนร่วมกับการทำบุญให้หลวงปู่ ทั้งๆที่ไม่เคยรู้จักหลวงปู่มาก่อน กว่าจะเริ่มงานได้ก็ต้องทำงานที่ค้างไว้ทั้งหมดให้เสร็จสิ้นก่อน เพราะเมื่อเริ่มทำงานนี้แล้วต้องหยุดรับงานอื่นๆ
พระต้นแบบองค์แรกที่แกะออกมายังไม่เป็นที่น่าพอใจ ต้องปรับแต่งรูปเค้าหน้าและลำตัวหลายจุดด้วยกัน พระต้นแบบองค์ที่สองก็ยังไม่เป็นที่พอใจแต่การปรับแต่งแก้ไขมีน้อยลง คณะลูกศิษย์จึงระบุรายการต่างๆให้ช่างแกะปรับแต่งแก้ไข และให้เริ่มทำการแกะจริงได้ในเดือนมิถุนายน 2552 การแกะพระชุดนี้ช่างแกะจะแกะพร้อมๆกันทีละ 40 องค์ โดยเริ่มแกะจากฐานพระก่อน ตามด้วยส่วนลำตัว และส่วนศรีษะในขั้นตอนสุดท้าย ทั้งนี้ก็เพื่อให้พระที่แกะออกมามีขนาด รูปร่างใกล้เคียงกันมากที่สุด การแกะพระหนึ่งชุด (40 องค์) จะใช้เวลาหนึ่งเดือน ไม่สามารถเร่งรัดได้มากกว่านี้ เมื่องานแกะชุดแรกเสร็จ คณะลูกศิษย์ต้องนำมาขัดแต่งผิวและคว้านเจาะฐานพระเพื่อให้เป็นที่บรรจุมวลสารมงคลที่จะนำมาอุดไว้ก่อนครอบฐานพระในขั้นตอนสุดท้าย มวลสารที่นำมาบรรจุไว้ที่ฐาน ประกอบด้วยสิ่งมงคลอย่างยี่งของหลวงปู่ ซึ่งบางส่วนหลวงปู่ได้กรุณาให้จัดเตรียมไว้ ได้แก่
เกศาของหลวงปู่
เล็บของหลวงปู่
โลหิตธาตุของหลวงปู่ ที่ลูกศิษย์สะสมไว้จากส่วนเกินที่เหลือจากการเจาะโลหิตเพื่อตรวจสุขภาพของหลวงปู่เป็นประจำทุกเดือน
ชิ้นผ้าจีวร(สบง)ของหลวงปู่
มวลสารมงคลดั้งเดิมที่หลวงปู่เก็บสะสมไว้ตั้งแต่ยังเดินธุดงค์
ชานหมากของหลวงปู่ที่คณะลูกศิษย์สะสมไว้ ก่อนที่หลวงปู่จะงดการฉันหมาก
มวลสารมงคล(ผงจักรพรรดิ์)ที่ได้รับจากหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
มวลสารมงคลที่ลูกศิษย์สะสมไว้ (คุณสรชัช พรหมคุณาวัตร) เพื่อใช้สร้างวัตถุมงคลถวายหลวงปู่
ดอกไม้บูชาของหลวงปู่โดยหลวงปู่มอบให้ไว้เพื่อตากแห้งและบดเป็นผง และหลวงปู่ได้ปลุกเสกแล้ว
พลอยและทรายโกเมนที่ได้จากวัดพระธาตุศรีจอมทอง เชียงใหม่
มวลสารที่ได้รับจากคุณสรชัช เป็นมวลสารที่แบ่งเก็บไว้ จากการสร้างพระผงหลวงพ่อพระพุทธนิมิตวิชิตมาร วัดหน้าพระเมรุจ.อยุธยา ซึ่งประกอบด้วย
อิฐ-ปูน-ดินใต้ฐานชุกชีหลวงพ่อพระพุทธนิมิตฯ วัดหน้าพระเมรุ
ผงกระเบื้องโมเสส-ทองเปลว หลวงพ่อโต วัดอินทร์บางขุนพรหม
ปูนฐานชุกชี หลวงพ่อมงคลบพิตร บัวรอบฐานหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง กระเบื้องโบสถ์วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่
หินข้าวเย็นฤษีวัดพระพุทธบาทสี่รอย
ผงรักทองพระประธานวัดกษัตราธิราช ผงรักทองพระพุทธตรีโลกเชษฐ์ วัดสุทัศน์
กิ่ง-ใบ-ด้วงเลียบ(ตาไม้ของต้นเลียบ) ต้นที่ฝังรกหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด สงขลา
พลอย 5 สีแทนพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ปัฐวีธาตุจากแม่น้ำปายจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่ง 2 อย่างนี้หลวงปู่หงษ์ ท่านกรุณาแช่น้ำมนต์เสกให้ที่หัวนอนท่านนานนับเดือน
ข้าวสารหินของหลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ ท่านเสกมากว่า 2 ปี
ผงพุทธคุณของ วัดนครอินทร์ เมืองนนท์ ผงพุทธคุณหลวงพ่อฑูรณ์ วัดโพธินิมิตรตลาดพูล ผงพุทธคุณ-เกษา ท่านครูบาบุญปั๋น วัดร้องขุ้ม เชียงใหม่ แป้งเสก หลวงปู่บุดดา ถาวโร
สายประคำที่ หลวงพ่ออุตตมะ อุตตมะรัมโภ ตกสายประคำเสกทีละเส้นกับมือทุกเส้น 56 เส้น
ผงสร้างพระพิมพ์สมเด็จรุ่นญาณวิลาส หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
แร่บางไผ่ แร่เหล็กโคกยายเหลือง แร่เหล็กน้ำพี้แร่เพชรหน้าทั่ง
ว่านมงคล 32 ชนิด เช่นเกราะเพชรไพฑูรณ์ พระตะบะถอนโมกขศักดิ์ ปลาไหลเผือก เพชรน้อย เพชรใหญ่ หัวว่านดอกทอง ดินสอฤษีพญากาหลง จูงนางฯลฯ
พระเครื่องรุ่นก่อนๆที่ชำรุด ของหลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ หลายร้อยองค์
มวลสารทั้งหมดได้ผ่านการอธิฐานจิตมาก่อนที่จะนำมาสร้างทั้งสิ้นโดยหลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม เสกผงมวลสาร 2 ครั้ง หลวงพ่อสง่าวัดบ้านหม้อ เสกผงให้ที่พิธีของวัดลุ่มเจริญศัทธาธรรม หลวงปู่ทิม วัดพระขาว และหลวงปู่หงษ์เมตตาเสกมวลสารเองอีกหลายครั้ง
จำนวนการจัดสร้างพระรูปเหมือนหลวงปู่ในครั้งนี้ มีจำนวนจำกัดเพียง 159 องค์ โดยแบ่งเป็นพระรูปเหมือนฐานทองคำ จำนวนทั้งสิ้น 29 องค์ และพระรูปเหมือนฐานเงิน จำนวนทั้งสิ้น 129 องค์ และพระรูปเหมือนฐานทองคำองค์ต้นแบบของหลวงปู่เอง 1 องค์
เมื่อจัดสร้างเสร็จ จะมีพระไม้แกะเพิ่มขึ้นอีก 1 องค์ ที่เป็นองค์สำรองเผื่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น จึงได้ครอบฐานเงินและกำหนดเป็นหมายเลข 159 คู่กับพระครอบฐานทองคำ (หมายเลขเดียวกัน) ซึ่งเป็นชุดที่คณะลูกศิษย์ทำบุญบูชาถวายหลวงปู่ รวมถึงพระครอบฐานเงินอีก 8 องค์ นอกจากนี้แล้วช่างแกะพระได้จัดทำพระงาแกะองต์เล็กขนาดเท่ากับพระหล่อโลหะรุ่นนั่งรวย ถวายหลวงปู่เพิ่มอีก 1 องค์ ซึ่งเป็นความศรัทธาที่เกิดขึ้นระหว่างทำการแกะพระไม้รุ่นนี้
วาจาของหลวงปู่ที่กล่าวกับคณะลูกศิษย์
“พระที่ทำจากไม้เสาสะพานร้อยปีนี้ ดีมากมาก พระแม่ธรณีท่านให้มา ครูบาอาจารย์ก็มาช่วยทำ ขอให้เก็บรักษาไว้ให้ดี เพราะจะเป็นของหายาก ต่อไปอีก 500 ปีก็จะหาอีกไม่ได้ ถึงมีเงินเป็นล้านก็หาเช่าไม่ได้เพราะมีน้อย มีค่าสูงยิ่ง”
“มวลสารที่อุดไว้ในฐานพระให้ใส่ไว้เยอะๆ ใครรู้จะได้กลัว เพราะครูบาอาจารย์ให้สร้างไว้”
ในวันที่ทำพิธีปลุกเศก ซึ่งตรงกับวันออกพรรษาและเป็นพิธีไหว้ครูของหลวงปู่ ในตอนเช้าเวลา 6.30น. จนถึงเวลาประมาณ 7.45น. เป็นพิธีการสวดปาฏิโมกข์ที่โบสถ์วัดเพชรบุรี หลวงปู่เคยกล่าวไว้ว่าพระและวัตถุมงคลที่นำเข้าพิธีนี้เพียงครั้งเดียวจะเสมือนการทำพิธีปลุกเศกนับสิบครั้ง เพราะการสวดปาฏิโมกข์เป็นการสวดมนต์ตามบทสวดพระพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์โดยพระภิกษุสงฆ์ล้วนๆ จะไม่อนุญาตให้ผู้อื่นเข้าไปในบริเวณขอบรั้วของอุโบสถ ในหนึ่งปีจะสวดปาฏิโมกข์ได้เพียงสามครั้ง คือวันเพ็ญในช่วงการเข้าพรรษา และวันออกพรรษาจะเป็นการสวดปาฏิโมกข์ครั้งสุดท้ายของแต่ละปี จากนั้นจึงมีพิธีไหว้ครูที่จัดขึ้นที่ปราสาทเพชรซึ่งอยู่ตรงข้ามกับสุสานทุ่งมนในเวลา13.00 น. เนื่องจากหลวงปู่มีอาการเจ็บหน้าอก(ซึ่งเป็นอาการของโรคหัวใจ) ระหว่างสวดปาฏิโมกข์ในตอนเช้าและยังคงมีอาการอิดโรย จึงได้ต่อสายสิญญ์จากบริเวณมณฑลปะรำพิธีมายังห้องพักของหลวงปู่ และหลวงปู่ได้นั่งภาวนาสวดมนต์ตั้งแต่เริ่มพิธีจนเสร็จสิ้นพิธีในเวลาประมาณ 16.00น. (รวมเวลาที่ทำพิธีการลงกระหม่อม นะหน้าทอง สาริกาล้นทอง ทั้งชายและหญิงได้ครบถ้วนทั้งหมด) โดยไม่ได้หยุดพักตลอดการทำพิธี ซึ่งคณะลูกศิษย์ได้มีโอกาสเข้าไปกราบหลวงปู่ในระหว่างการสวดภาวนาในช่วงเวลาหนึ่งก่อนพิธีจะเสร็จสิ้น
ราคาเปิดประมูล199 บาท
ราคาปัจจุบัน13,049 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 04 มิ.ย. 2558 - 11:27:01 น.
วันปิดประมูล - 05 มิ.ย. 2558 - 11:38:01 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลnuchest (5.4K)(7)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 04 มิ.ย. 2558 - 11:27:42 น.



ถุงเดิม ลงอักขระ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 04 มิ.ย. 2558 - 11:28:01 น.

สวบแชมป์


 
ราคาปัจจุบัน :     13,049 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    elpina (185)

 

Copyright ©G-PRA.COM