(0)
หลวงปู่ทวด (สมเด็จเจ้าเกาะยอ) วัดสุวรรณคีรี พิมพ์กรรมการ ซุ้มกอใหญ่ รุ่นแรก ปี 05 จ.สงขลา พระคัดสวย ประวัติในรายละเอียด








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องหลวงปู่ทวด (สมเด็จเจ้าเกาะยอ) วัดสุวรรณคีรี พิมพ์กรรมการ ซุ้มกอใหญ่ รุ่นแรก ปี 05 จ.สงขลา พระคัดสวย ประวัติในรายละเอียด
รายละเอียดประวัติการสร้างชัดเจน พิมพ์นี้พิมพ์กรรมการ (ซุ้มกอใหญ่) ฝังเพชรน้ำค้าง หรือ หินเขี้ยวหนุมาน อ.ทิม พ่อท่านคล้าย อ.วัน และเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ 108 รูป อีกทั้งได้อัญเชิญดวงวิญญาณหลวงปู่ทวดมาร่วมในพิธีปลุกเสกด้วย

ในบรรดาพระอริยสงฆ์ผู้มีบุญญาธิการ ซึ่งชาวภาคใต้ให้ความเคารพนับถือปรากฏชื่อสมเด็จเจ้าสามเกลอ คือ สมเด็จเจ้าพะโคะ สมเด็จเจ้าเกาะยอ และสมเด็จเจ้าเกาะใหญ่ อยู่ในการกยกย่องบูชาด้วย ซึ่งในตำนานของสมเด็จเจ้าทั้งสามรูปดังกล่าวปรากฏว่ามีส่วนเกี่ยวพันกันด้วย จึงเรียกขานกันต่อมาว่าสมเด็จเจ้าสามเกลอ

สมเด็จเจ้าพะโคะ หรือ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด เป็นชาวบ้านวัดเลียบ ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ในสมัยพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่ออายุ 10 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ต่อมาได้อุปสมบท มีฉายาว่า “ราโม ธมมิโก” แต่คนทั่วไปนิยมเรียกว่า “เจ้าสามิราม” ศึกษาจนมีความรู้ทางธรรมแตกฉาน จึงโดยสารเรือสำเภาเดินทางไปกรุงศรีอยุธยา เมื่อเรือถึงชุมพรเกิดคลื่นลมปั่นป่วนไม่สามารถเดินทางต่อไปได้จนถึง 7 วัน ทำให้สะเบียงอาหารและน้ำจืดหมด เจ้าสามิรามได้ใช้เท้าซ้ายแช่ในน้ำทะเล ทำให้น้ำบริเวณนั้นจืดสามารถดื่มได้ จนกระทั่งเดินทางไปจนถึงกรุงศรีอยุธยา ได้ไปพำนักที่วัดแคและศึกษาธรรมะที่วัดลุมพลีนาวาส

ต่อมามีพราหมณ์จากลังกามาท้าพนันแปลธรรมะ เจ้าสามิรามได้รับอาสาแปลธรรมะจนชนะ พระเอกาทศรถจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นที่ “สมเด็จพระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์” เมื่อท่านได้เดินทางกลับวัดพะโคะ ชาวบ้านก็ได้ร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ และเรียกท่านว่าสมเด็จเจ้าพะโคะ ท่านได้บูรณะวัดพะโคะ สร้างพระศรีรัตนมหาธาตุบนเขาพะโคะ สร้างอุโบสถและธรรมศาลา พระมหากษัตริย์ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่เลณฑุบาต มีอาณาเขตทิศเหนือจดเขาพังไกร ทิศใต้จดหัวเขาแดง

หลังจากนั้นสมเด็จเจ้าพะโคะได้หายไปจากวัดพะโคะ เข้าใจว่าท่านได้ธุดงค์เข้าไปในเขตแดนเมืองไทรบุรี ประเทศมาเลเซีย ท่านได้สร้างวัดไว้ที่นั่นหลายแห่ง คนทั่วไปเรียกว่าท่านลังกา และท่านยังได้สร้างวัดช้างให้ขึ้นที่ปัตตานีอีกวัดหนึ่ง ท่านได้เดินทางไปมาระหว่างเมืองไทรบุรีกับวัดช้างให้ จนกระทั่งมรณภาพที่เมืองไทรบุรี ประชาชนหามศพกลับมาที่วัดช้างให้ ดังปรากฏสถานที่แวะพักศพตามเส้นทางจากมาเลเซียสู่ไทย ซึ่งชาวบ้านได้สร้างเป็นเครื่องหมายไว้กราบไหว้บูชา

สมเด็จเจ้าเกาะยอ หรือพระราชมุนีเขากุด เป็นชาวบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ถือกำเนิดสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ “ขาว” เพราะสมัยแรกเกิดที่ฝ่ามือด้านขวาของท่านเป็นรูปดอกบัวสีขาว เมื่ออายุ 20 ปี บิดานำไปฝากไว้กับสมภารอ่ำวัดต้นปาบ ตำบลบ้านพรุ เพื่อให้บวชเรียนจนสามารถจดจำคำขออุปสมบทได้หมด จึงได้อุปสมบท ณ วัดต้นปาบ

เมื่อศึกษาพระธรรมวินัยจนแตกฉาน ได้ร่ำลาสมภารอ่ำไปออกธุดงค์ และได้จำพรรษาอยู่ที่วัดสุวรรณคีรี ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา อยู่ 6 พรรษา ต่อจากนั้นเดินทางธุดงค์ไปจำพรรษาที่วัดบางโหนด (บ้านบางลึก ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา) เมื่อออกพรรษาแล้วได้เดินธุดงค์ไปเมืองสทิงพระ (อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา) ที่นี่ท่านได้พบกับสมเด็จเจ้าพะโคะ และได้สนทนาธรรมกันจนเป็นที่ชอบพออัธยาศัย ในระหว่างการสนทนาธรรม สมเด็จเจ้าเกาะยอได้ตั้งจิตอธิษฐานว่าถ้าหากท่านกับสมเด็จเจ้าพะโคะได้เคยสร้างบารมีร่วมกันมาแต่ชาติปางก่อน ขอให้ท่านเห็นสมเด็จเจ้าพะโคะนั่งอยู่บนพรมสีแดง ปรากฏว่าท่านเห็นสมเด็จเจ้าพะโคะนั่งอยู่บนพรมสีแดงจริง

หลังจากนั้นสมเด็จเจ้าเกาะยอ และสมเด็จเจ้าพะโคะได้ออกเดินทางธุดงค์ไปด้วยกันจนไปพบสมเด็จเจ้าเกาะใหญ่ ได้สนทนาธรรมจนเป็นที่ชอบพอกันแล้ว สมเด็จเจ้าเกาะยอได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า หากสมเด็จเจ้าเกาะใหญ่เคยสร้างสมบารมีมาด้วยกันในชาติปางก่อน ขอให้ท่านเห็นเจ้าเกาะใหญ่ยืนอยู่บนพรมสีเหลือง ปรากฏว่าท่านก็ได้เห็นสมเด็จเจ้าเกาะใหญ่ยืนอยู่บนพรมสีเหลืองจริง ๆ เมื่อแยกย้ายกันกลับสมเด็จเจ้าเกาะยอได้ขึ้นฝั่งที่บ้านแหลมพ้อ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ปักกลดจำพรรษาอยู่ที่นี่เป็นเวลา 7 เดือน จึงได้เดินทางไปเยี่ยมโยมบิดามารดาที่บ้านพรุ โดยจำพรรษาที่วัดต้นปาบ ระหว่างจำพรรษาท่านได้เหยียบรอยเท้าไว้ ต่อมาชาวบ้านได้เรียกชื่อวัดต้นปาบว่า “วัดพระบาทบ้านพรุ” สมเด็จเจ้าเกาะยอเดินทางกลับเกาะยออีกครั้ง ครั้งนี้ได้ขึ้นไปปักกลดจำพรรษาอยู่บนภูเขาลูกหนึ่ง ในค่ำคืนหนึ่งขณะที่ท่านได้นั่งสมาธิอยู่นั้น เกิดนิมิตเห็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลอยลงมายังยอดเขา ตรัสทำนายว่า

ต่อไปบนยอดเขาแห่งนี้จะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ตถาคตเจ้าขอให้ท่านจำพรรษาอยู่ที่นี้ และให้สร้างรูปเหมือนจำลองตถาคตประดิษฐานไว้บนยอดเขาลูกนี้ด้วย และให้ทำพิธีสักการะบูชาในวันวิสาขบูชา วันเพ็ญเดือน 6 ของทุกปี ให้ตั้งชื่อเขาลูกนี้ว่า “เขากุด”

หลังจากนั้นสมเด็จเจ้าเกาะยอได้สรางพระพุทธรูปจำลองแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้บนยอดเขา ท่านได้จำพรรษาอยู่บนยอดเขาเป็นเวลานาน ได้ช่วยเหลือชาติบ้านเมืองและประชาชนบริเวณเกาะยอให้ความเคารพบูชามาก สมเด็จพระเอกาทศรถแห่งกรุงศรีอยุธยาทรงเห็นว่า สมเด็จเจ้าเกาะยอเป็นผู้มีบุญญาธิการสูง จึงได้โปรดเกล้า ฯ พระราชทานสมณศักดิ์ที่พระราชมุนีเขากุด ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า “สมเด็จเจ้าเกาะยอ” หรือ “สมเด็จเจ้าเขากุด” เมื่อมรณภาพแล้วชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างสถูปเจดีย์ก่อด้วยอิฐถือปูนเก็บอัฐิธาตุของท่านไว้บนยอดเขากุด ในบริเวณที่ประดิษฐานพระพุทธรูปจำลอง ปรากฏหลักฐานอยู่จนถึงทุกวันนี้

สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่ เป็นชาวบ้านทองบัว เมืองปัตตานี (ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลบางลำภู จังหวัดนราธิวาส) สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อเกิดสงครามในเมือง สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่และพี่น้องได้อพยพจากปัตตานีลงเรือสู่เมืองสงขลา ผ่านเขาแดง เขาเขียว เกาะยอ บ้านป่าขาด และล่องเรือเข้าไปในทะเลสาบสงขลาตอนใน ผ่านเกาะราบ เกาะกระ เกาะสี่เกาะห้า จนถึงเกาะใหญ่ เห็นว่าเกาะใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ จึงได้นำเรือเข้าจอดและจมเรือสองลำที่นำมาไว้ที่อ่าวท้องบัว ชาวบ้านที่มาด้วยกันได้ช่วยกันตั้งบ้านให้ชื่อว่า “บ้านท้องนำ” (ปัจจุบันคือ “บ้านทุ่งบัว” อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา)

สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่ได้สำรวจพื้นที่เพื่อตั้งวัด พบสถานที่แห่งหนึ่งเป็นเนินสูง จึงได้สร้างวัดขึ้น และก่อกำแพงหินลดหลั่นกัน 7 ชั้น ให้ชื่อว่า “วัดสูงเกาะใหญ่” เมื่อแรกสร้างอุโบสถสมเด็จเจ้าเกาะใหญ่นั่งสมาธิใช้พลังจิตยกก้อนหินขนาดใหญ่ไปวางเรียงไว้อย่างมีระเบียบ วิชาอย่างนี้เรียกกันว่า “พลังเสือ” เมื่อสร้างวัดเสร็จสมเด็จเจ้าเกาะใหญ่ได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนชาวบ้านที่บ้านท้องนำ ได้สร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งให้ชื่อว่า “วัดสูงทุ่งบัว” ทำให้ชาวบ้านบริเวณนี้ให้ความเคารพนับถือมาก จึงเรียกกันว่า “สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่” ชาวบ้านเล่ากันต่อ ๆ มาว่า สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่เป็นเพื่อนเกลอกับสมเด็จเจ้าเกาะยอ และสมเด็จเจ้าพะโคะ

หลังจากสมเด็จเจ้าเกาะใหญ่มรณภาพ ความเคารพนับถือในความศักดิ์สิทธิ์ของท่านยังคงอยู่ยาวนานจนถึงปัจจุบัน

-----------------------------------------------------------


เรื่องโดย : สถาบันทักษิณคดีศึกษา
โดย thaisouth team เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2548

พระองค์นี้คัดสวย สมบูรณ์มาก หายากครับ
ราคาเปิดประมูล450 บาท
ราคาปัจจุบัน2,050 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 21 เม.ย. 2559 - 13:01:14 น.
วันปิดประมูล - 25 เม.ย. 2559 - 09:19:52 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลทนายหลวง (1.7K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     2,050 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    sarayut1986 (1K)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM