(0)
++วัดใจ10บาท ตะกรุดมหาระงับหลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา พร้อมใบประกาศรางวัลที่1 งานมหกรรมการประกวดพระเครื่องพระบูชาและเหรียญคณาจารย์ เครื่องรางของขลัง จ.นครปฐม ท่านใดมองหาอยู่ไม่ควรพลาดครับ+++








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง++วัดใจ10บาท ตะกรุดมหาระงับหลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา พร้อมใบประกาศรางวัลที่1 งานมหกรรมการประกวดพระเครื่องพระบูชาและเหรียญคณาจารย์ เครื่องรางของขลัง จ.นครปฐม ท่านใดมองหาอยู่ไม่ควรพลาดครับ+++
รายละเอียด1.อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่างนะครับ


2.พระเครื่องที่ลงประมูลในแต่ละรายการนั้นราคาขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของเพื่อนสมาชิกที่ร่วมประมูล โดยกระผมไม่สามารถที่จะกำหนด หรือเรียกร้องราคาได้ (ถึงขาดทุนผมก็ต้องขาย)หากสมาชิกที่ต้องการเช่าไปเก็บไว้เพื่อออกต่อทำกำไรก็กรุณาตรวจสอบราคากลางให้แน่ใจก่อนที่จะลงราคาประมูลไปนะครับ จะได้ไม่ต้องมีปัญหาเรื่องประมูลพระผิดราคา หรือเอาไปแล้วขายไม่ได้ และต้องมีการขอคืนกันตามมาในภายหลัง ดูให้ชอบนะครับจะได้ไม่เสียโอกาศทั้ง2ฝ่าย


3.พระเครื่องหรือเครื่องรางต่างๆที่กระผมเอามาลงทุกรายการยินดีส่งออกบัตรรับรองทุกรายการแต่บางรายการทางสำนักงานไม่มีข้อมูลก็ต้องขออภัยด้วยนะครับ แต่ผมประกันแท้ตลอดชีพทุกชิ้น


4.รับประกันตามกฎของเว็บ G-PRA ทุกประการ


5.กระผมขอขอบพระคุณพี่ๆ สมาชิกทุกๆท่านที่ยอมรับยูซเซอร์เนมนี้มาโดยตลอด โปรดติดตามพระเครื่อง เครื่องรางและพระกรุดีๆ ที่นำมาประมูล ไม่ผิดหวังแน่นอนครับ


6.ทุกรายการไม่มีการปิดประมูลให้สมาชิกนอกรอบอย่างแน่นอน ใครให้ราคาไว้สูงสุดก็ได้บูชาไปตามกฎ


7.ขอให้พี่ๆสมาชิกทุกท่านโชคดีในการประมูลครั้งนี้ ร่ำรวยๆ มีความสุขกันทุกคนค

8.สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับพระเครื่องทุกชิ้นที่ลงประมูลโทร 0617189229

9. ติดต่อได้ที่เบอร์ 0617189229 หรือ 0944898847 หมูโชะเด๊ะ
ราคาเปิดประมูล10 บาท
ราคาปัจจุบัน3,520 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 31 ม.ค. 2562 - 20:00:13 น.
วันปิดประมูล - 01 ก.พ. 2562 - 20:02:52 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลหมูโชะเด๊ะ (943)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 31 ม.ค. 2562 - 20:02:35 น.



ยังมีรูปพระอีกครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 31 ม.ค. 2562 - 20:03:48 น.



ยังมีรูปพระอีกครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 31 ม.ค. 2562 - 20:04:29 น.



พระวิสุทธาจารเถร นามเดิมว่า เทียม นามสกุล หาเรือนศรี เกิดเมื่อวันเสาร์
ขึ้น 3 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2447 ตรงกับวันเสาร์ 11 ค่ำ เดือน 8 ในรัชกาลที่ 5 ณ ตำบล บ้านป้อม หมู่ที่ 77 อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บิดาชื่อ นายสุ่น มารดาชื่อ นางเลียบ หาเรือนศรี ประกอบอาชีพเป็นชาวนา
ศึกษาเบื้องต้น
เมื่ออายุประมาณ 10 ปี บิดามารดาได้นำท่านมาฝากไว้ ณ วัดกษัตราธิราช
เรียนหนังสือ ก ข กับพระภิกษุมอน ผู้เป็นน้าชาย เมื่อพระภิกษุมอน ลาสิกขา ท่านก็คงอยู่
เรียน หนังสือต่อไป โดยเป็นศิษย์ของ อาจารย์ปิ่น ให้ช่วยสอนหนังสือให้ ในขณะเดียวกันก็ได้ ศึกษาความรู้ทางด้านวิชาช่างเขียน ช่างแกะสลักไปด้วย จากนั้นอายุ11-12เรียนช่างเขียนสำเร็จ ก็ฝากตัวเป็นศิษย์ของอาจารย์จันทร์ เรียนภาษาขอมจนถึงอายุ 15-16 ปี จึงได้ออกจากวัด เพื่อช่วยทางครอบครัว ซึ่งประกอบอาชีพทำนา
ผู้ใฝ่ในการศึกษา
ขณะที่ช่วยบิดา มารดา ประกอบอาชีพ ได้เริ่มเรียนวิชาไสยศาสตร์แบบ ลงผง
ลง ยันต์กับอาจารย์ทรัพย์ ผู้เป็นลุง และนายสุ่นผู้เป็นบิดา พร้อมกับเรียนวิชาธาตุกสิณ กับคุณอาเงิน ผู้เป็นอา เมื่อเรียนธาตุกสิณเป็นแนวทางแล้ว อาเงินเป็นศิษย์ของหลวงพ่อโป๋ วัดแดงใต้ อำเภอ ท่าเรือ จังหวัด อยุธยาได้เรียนวิชาการแขนงอื่นๆ อีกหลายสาขาเช่น การประดับตกแต่ง เรียนช่างก่อสร้าง ช่างปูน ช่างไม้ กับลุงเชย ตอนนั้นอายุ 17 ปี พออายุ 18-19 ปี ได้เรียนวิชากระบี่กระบอง และกลองแขกคู่ เป่าปี่ชวา กับ คุณพี่ สมบุญ และ คุณลุงแช่ม เมื่อเรียนสำเร็จแล้วได้ออกไปแสดงตามสถานที่ต่างๆ เช่น ในงานสำคัญต่างๆในจังหวัด เช่น งานพระราชทานผ้าพระกฐิน ณ วัดสุวรรณดาราราม วัดเสนาสนาราม วัดศาลาปูน วัดตูม ฯลฯ และได้เรียนวิชากระบี่กระบองเพิ่มเติม จากนายเขียว บ้านห่อหมก อำเภอบางไทร ในระยะที่เป็นเลาว่างงานก็ใช้วิชาที่เรียนมานำไปประกอบอาชีพบ้าง ทำช่างไม้ เป็นลูกมือ พี่เกลี้ยง มีศักดิ์ เป็นพี่ชาย
อุปสมบท
ต่อมาเมื่ออายุ 20 ปี ท่านได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดกษัตราธิราช
เมื่อวันศุกร์ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 8 ปีชวด ตรงกับวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2467 ตรงกับวันศุกร์ โดยมี พระครูวินยานุวัติคุณ
(มาก อินทโชติ) เจ้าอาวาสวัดกษัตราธิราชเป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์หล่ำ วัดกษัตราธิราช
เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ทองดี วัดพระงาม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายาว่า สิริปัญโญ
เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระปริยัติธรรม ณ สำนักเรียนวัดเสนาสนาราม 2 พรรษา
และ ได้ศึกษากรรมฐานกับหลวงพ่อสี วัดสนามชัยทางปิติ 5 และเรียนพระกัมมัฎฐานทางประมวลกับอาจารย์จาบ กับอาจารย์เหม็ง วัดประดู่ทรงธรรม ครั้นพรรษาที่ 2 ได้ปฏิบัติทางสมถะภาวนาตลอด ประจำอยู่วัดกษัตราธิราช พอพรรษาที่ 3 ไปศึกษา วิปัสสนากรรมฐาน กับหลวงพ่อม่วง วัดโบสถ์ เป็นอาจารย์ของท่านอาจารย์จาบ แห่งวัดประดูทรงธรรม ผู้เป็นอาจารย์สอนสมถะให้หลวงพ่อเทียม 2 พรรษา แล้วกลับมาอยู่ ณ วัดประดู่ทรงธรรม อีกครั้ง เพื่อศึกษาวิชา สมถะฝ่ายกสิณ 10 อนุสสติ 10 ยุคล 6 จงกรม พร้อมด้วนเริ่มเรียนวิทยาคมต่างๆ เช่น เป่า พ่น ปลุกเสก ลงเลขยันต์ ตามตำหรับวัดประดู่ทรงธรรม
จนถึงพรรษาที่ 9 จึงกลับมาอยู่ วัดกษัตราธิราช เนื่องจากพระครูวินยานุวัติคุณ (มาก อินทโชติ)
ซึ่งเป็นอุปัชฌาย์ ของท่าน ได้อาพาธหนัก จึงได้มารับใช้สนองพระคุณของพระอุปัชฌาย์
การกลับมาครั้งนี้ของท่าน ท่านได้นำตำราพิชัยสงคราม กับตำรามหาระงับพิสดาร รวมถึง
ตำราเลขยันต์อื่นๆติดตัวมาด้วย จนกระทั่งจากพระครูวินยานุวัติคุณ มรณภาพ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2477
หลัง จากจัดการศพของท่านจากพระครูวินยานุวัติคุณ เสร็จแล้วจึงเดินทางไปศึกษากรรมฐาน ณ วัดวรนาถบรรพต (วัดเขากบ) จ.นครสวรรค์ เมื่อศึกษาสำเร็จได้ตามที่ท่านตั้งใจแล้ว
ท่านจึงเดินทางกลับมายังวัด กษัตราธิราช ตามเดิม ท่านเป็นลูกศิษย์ ของก๋งจาบ ฆราวาสจอมขมังเวทย์ยุคเก่าสายวัดประดู่ทรงธรรม ซึ่งก๋งจาบท่านนี้ยังเป็นครูบาอาจารย์ ของหลวงปู่เทียม วัดกษัตราฯ หลวงพ่อแทน และหลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง พระเกจิอาจารย์ทั้ง สาม รูปนี้ มักได้รับนิมนต์ เชิญให้ไปร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก อธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลอยู่เป็นประจำ โดยหลวงพ่อแทน หลวงปู่เทียม และหลวงพ่อกี๋ คือ สามพระเกจิอาจารย์ สายวัดประดู่ทรงธรรม ผู้จาร แผ่นชนวนยันต์ หลอมไม่ละลายในเบ้าหลอม ชนวนยันต์ ในพิธี วัดประสาทฯ เมื่อปี 2506 เป็นที่ฮือฮา และ โด่งดังมาก ในสมัยนั้น นั่น แสดงถึง ความเข้ม ขลัง มหายันต์ อันศักดิ์สิทธิ์ และ ความเข้ม ขลัง แห่ง พลังจิต ของพระเกจิอาจารย์ทั้ง สาม รูปนี้ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ชัยนาท ท่าน ยัง ให้ความเคารพนับถือ หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช
รับตำแหน่งเจ้าอาวาส
หลังจากที่ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง โดย พระมหาสิน นันโท ลาสิกขาบท เมื่อวันที่ 30
มิถุนายน พ.ศ. 2483 พระครูไพจิตรวิหารการ (บัว สีลโสภโน) จากวัดประดู่ทรงธรรม
ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อ ตั้งแต่ พ.ศ. 2484 จนถึง พ.ศ. 2496 พระครูไพจิตรวิหารการ
ได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส ทางคณะสงฆ์จึงเห็นสมควร แต่งตั้งให้ หลวงพ่อเทียม
ซึ่งในคณะนั้นท่านดำรงสมณศักดิ์ พระใบฎีกา รักษาการแทน จนกระทั่งได้รับแต่งตั้ง
เป็น เจ้าอาวาสวัดกษัตราธิราช ในปี พ.ศ.2496 องค์ที่ 8
สมณศักดิ์และตำแหน่งหน้าที่
พ.ศ. 2474 เป็นพระใบฎีกา ฐานานุกรมของพระครูวินยานุวัติคุณ (มาก)
ในตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ บางบาล
พ.ศ. 2496 เป็นเจ้าอาวาสวัดกษัตราธิราช
วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2508 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี พระครูพิพิธวิหารการ
วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2509 เป็นเจ้าคณะตำบลภูเขาทอง พ.ศ. 2510 ได้แต่งตั้งดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภูเขาทองปกครองคณะสงฆ์ 8 วัด
วันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2512 เป็นพระอุปัชฌายะ
วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2514 เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นโท
วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2517 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2522 ได้รับ พระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ
ที่พระวิสุทธาจารเถร ฝ่ายวิปัสสนาธุระ


อุปนิสัยของหลวงพ่อ
ท่านเป็นพระเถระที่ฝักใฝ่อยู่ในวิปัสสนาธุระ และมั่นคงอยู่ในเพศพรหมจรรย์
ตลอดชีวิตสมณะท่าน ท่านตั้งอยู่ในพรหมวิหาธรรม ให้ความคุ้นเคย เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ
บุคคลทุกชั้นวรรณะ มิได้แสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นเหตุให้อาคันตุกะได้รับความหนักใจ
เพราะความที่ท่านเปี่ยมไป ด้วยความเมตตากรุณา นั้นเอง ท่านจึงต้องใช้สังขารอย่าลำบากตรากตรำ
เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุข ให้แก่บุคคล ผู้หันหน้ามาพึ่ง โดยท่านมิได้คำนึงถึงความเหน็ดเหนื่อย
ไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน ไม่มีเวลา ส่วนตัว กิจธุระนอกวัดก็มากขึ้นเป็นลำดับ
เมื่อ กลับมาถึงวัดก็ควรได้รับการพักผ่อน พอถึงกุฏิ ก็ต้องมีบุคคลมารอพบหมายจะให้ท่านช่วยแก้ปัญหาทุกข์ร้อน อยู่เป็นประจำ ด้วยความเมตตา และกรุณาของท่านนี้เอง จึงมีผู้ศรัทธาเลื่อมใสในท่านเป็นจำนวนมาก ท่านบำเพ็ญตน อยู่อย่างนี้ตลอดมา เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้ความอบอุ่น ร่มเย็นแก่ชาวบ้านและชาววัดตลอดมา ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกล
เมื่อมาถึงหลวงพ่อแล้วย่อมได้รับ ความอนุเคราะห์ โดยทั่งหน้ากัน เป็นที่ซาบซึ้งใจยิ่งนัก
พระนักพัฒนา
นอกจากจะมีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุข ให้กับบุคคลทุกชั้นวรรณะแล้ว ท่านต้อง
รับภาระอันหนักยิ่ง กล่าวคือ การบูรณปฏิสังขรณ์ปูชนียวัตถุ และถาวรวัตถุภายในวัด ควบคู่กันไป ปรากฏว่า
ท่านเอาใจใส่งานก่อสร้างมากถึงกับ ลงมือ ทำด้วยตนเอง จนกระทั่ง ทำด้วยตนเองไม่ได้
ท่านจะคอยควบคุมดูแลสั่งการ เพื่อให้งานนั้นๆ เป็นไปด้วย ความเรียบร้อย และได้ผลดี
ด้วยความที่ท่านต้องมีหน้าที่รับผิดชอบ ต่องานก่อสร้างนี้เอง จึงเป็นเหตุให้ ท่านเกิดอาพาธ
เป็นโรคอัมพาตขึ้นเมื่อประมาณกลางปี พ.ศ.2517 จนท่านไม่สามารถจะ ไปไหนต่อไหนได้เหมือนแต่ก่อน แต่หลวงพ่อ
ท่านห่วงงานยิ่งกว่าสุขภาพ และสังขาร ตนเสียอีก ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า เมื่อท่านป่วยเป็นอัมพาตเดินไม่ได้
หลวงพ่อท่าน ก็นั่งรถเข็น ให้พระภิกษุหรือสามเณรช่วยเข็นให้ท่านนั่งในตอนเช้า และตอนเย็น เพื่อตรวจตรา
ดูความเรียบร้อยภายใน วัดเป็นพระจำวัน โดยมิได้ย่อท้อสามารถควบคุม และตรวจตรา งานก่อสร้างได้จนงานนั้นๆ
สำเร็จเรียบร้อยหลายอย่าง ดังปรากฏแก่สายตาของพวกเรา ทั้งหลายขณะนี้แล้ว


 
ราคาปัจจุบัน :     3,520 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Switz_t (73)

 

Copyright ©G-PRA.COM