(0)
พระกริ่งศรีสุทโธ รุ่น อายุวัฒนะ 90 หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู กล่องเดิม








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระกริ่งศรีสุทโธ รุ่น อายุวัฒนะ 90 หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู กล่องเดิม
รายละเอียดพระกริ่งศรีสุทโธ หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี รุ่น อายุวัฒนะ ๙๐ ดำเนินการสร้างโดย หลวงปู่เณรแก้ง คัมภีโร วัดบ้านเกษตรทุ่งเศรษฐี จ. ร้อยเอ็ด ศิษย์เอกของหลวงปู่คำบุ โดยมีหลวงปู่คำบุ เป็นประธานในการจัดสร้าง และได้ทำพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสก ณ อุโบสถวัดกุดชมภู เมื่อวันพุธที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๔ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งมีบั้งไฟพญานาคปรากฏขึ้นกลางลำน้ำโขงทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้สร้างสร้างรูปเหมือนหุ่นขี้ผึ้งเท่าองค์จริง (หน้าตัก ๒๙ นิ้ว) และสมทบทุนสร้างซุ้มประตูวัดกุดชมภู จ.อุบลราชธานี สมทบทุนสร้างอุโบสถวัดบ้านเกษตรทุ่งเศรษฐี จ.ร้อยเอ็ด สมทบทุนสร้างศาลาปฏิบัติธรรม วัดป่าสามัคคีธรรม จ.กาฬสินธุ์ โดยจัดสร้างพร้อมกับวัตถุมงคลอีก ๖ รายการ คือ รูปเหมือนหุ่นขี้ผึ้งขนาดบูชา หน้าตัก ๙ นิ้ว, พระสมเด็จทรงครุฑ, พระปิดตาเศรษฐีใหญ่, รูปหล่อเหมือนหล่อลอยองค์, ล็อคเก็ต อายุวัฒนะ ๙๐ และน้องแมวเรียกทรัพย์ อุดผงลูกกรอกแมว ผสมชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์มากมาย

หลวงปู่คำบุ พร้อมด้วยพระเถระชั้นผู้ใหญ่ และคณะศิษยานุศิษย์ เดินทางไปประกอบพิธีบวงสรวง พญานาคศรีสุทโธ ที่ดงคำชะโนด สถานที่ลี้ลับศักดิ์สิทธิ์ อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี ดินแดนนอาถรรพณ์ สนธยาเมืองบังบด ซึ่งเป็นสถานที่ที่พญานาคศรีสุทโธ ขึ้นมาจากวังบาดาล สู่โลกมนุษย์ เบื้องหน้าศาลสถิต เพื่อบอกกล่าวขออนุญาต จัดสร้างพระกริ่งศรีสุทโธ และอัญเชิญน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ จากบ่อพญานาค นำมาประพรมวัตถุมงคล เครื่องราง “อายุวัฒนะ๙๐” ให้เกิดอานุภาพเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ พระกริ่งศรีสุทโธ มีพุทธลักษณะงดงาม สวยคมชัด พุทธศิลป์ล้ำเลิศ รอบฐานรูปพญานาคปู่ศรีสุทโธ หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ พูนผล โชคลาภ อำนาจ วาสนา ยศฐาบรรดาศักดิ์ สวยคมชัด ขนาดสูง ๑ นิ้วครึ่ง พระพักตร์อิ่มเอิบแฝงไว้ด้วยเมตตาบารมีธรรม พระหัตถ์ถือกริ่งน้ำเต้า คือ ความอุดมสมบูรณ์พูนสุขด้วยน้ำอมฤทธิ์ ใครได้บูชาแล้วจะสำเร็จผลทุกประการ พกพาติดตัวแคล้วคลลาดปลอดภัย ปราศจากภัยอันตรายภัยพิบัติทั้งหลายทั้งปวง เป็นเมตตามหานิยม ใช้ทำน้ำมนต์กินอาบ ขับไล่คุณไสย์มนต์ดำเสนียดจัญไร ให้หมดสิ้นด้วยพุทธานุภาพ ของพระกริ่งศรีสุทโธ อธิษฐานขอสิ่งใดสมหวังทุกประการแล จัดสร้างด้วยกัน ๔ เนื้อ คือ ๑. เนื้อสามกษัตริย์ ๒. เนื้อสัมฤทธิ์ ชุบทอง ๓. เนื้อทองขาว ๔. เนื้อสัตตะโลหะ ถือเป็นรุ่นที่จัดสร้างต้อนรับปีมังกรทอง (พ.ศ. ๒๕๕๕) ที่จะมาถึง จึงได้รับความสนใจจากศิษยานุศิษย์ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศเป็นอย่างมาก ทำให้หมดจากวัดไปอย่างรวดเร็ว

ประวัติเจ้าพ่อพญาศรีสุทโธ

วังนาคินทร์คำชะโนด หรือชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า เมืองชะโนด สถานที่ดังกล่าวตั้งอยู่ระหว่างรอยต่อของตำบลวังทอง ตำลบบ้านม่วง และตำบลบ้านจันทร์อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี วังนาคินทร์คำชะโนด หรือ เมืองคำชะโนดมีเรื่องเล่ากันมาว่า

เจ้าพ่อพญาศรีสุทโธ เป็นพญานาค ครองเมืองหนองกระแสครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งเป็นพญานาคเช่นเดียวกันปกครองมีชื่อว่า สุวรรณนาค และมีบริวารฝ่ายละ ๕,๐๐๐ เช่นเดียวกัน ทั้งสองฝ่ายอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีอาหารการกินก็แบ่งกันกิน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นเพื่อนตายกันตลอดมา แต่มีข้อตกลงกันอยู่ข้อหนึ่งว่า ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดออกไปหากินล่าเนื้อหาอาหาร อีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องออกไปล่าเนื้อหาอาหาร เพราะเกรงว่าบริวารไพร่พลจะกระทบกระทั่งกัน และอาจจะเกิดรบรากันขึ้น แต่ให้ฝ่ายที่ออกไปล่าเนื้อหาอาหารนำอาหารที่หามาได้แบ่งกันกินฝ่ายละครึ่ง การกระทำโดยวิธีนี้อยู่ด้วยกันอย่างสงบสุขตลอดมา

อยู่มาวันหนึ่งสุวรรณนาคพาบริวารไพร่พลออกไปล่าเนื้อหาอาหาร ได้ช้างมาเป็นอาหาร ได้แบ่งให้สุทโธนาคครึ่งหนึ่ง พร้อมกับนำขนของช้างไปให้ดูเพื่อเป็นหลักฐาน ต่างฝ่ายต่างกินเนื้ออย่างอิ่มหนำสำราญด้วยกันทั้งสองฝ่าย และวันต่อมาอีกวันหนึ่ง สุวรรณนาคได้พาบริวารไพร่พลออกไปล่าเนื้อหาอาหาร ได้เม่นมา สุวรรณนาคได้แบ่งให้สุทโธนาคครึ่งหนึ่งเหมือนเดิม พร้อมทั้งนำขนของเม่นไปให้ดู ปรากฏว่าเม่นตัวเล็กนิดเดียว แต่ขนของเม่นใหญ่ เม่นตัวเล็กเมื่อแบ่งเนื้อเม่นให้สุทโธนาค จึงต้องแบ่งให้น้อย สุทโธนาคได้พิจารณาดูขนเม่นเห็นว่า ขนาดขนช้างเล็กนิดเดียวตัวยังใหญ่โตขนาดนี้ แต่นี้ขนใหญ่ขนาดนี้ตัวจะใหญ่โตขนาดไหนถึงอย่างไร ตัวเม่นจะต้องใหญ่กว่าช้างอย่างแน่นอน คิดได้อย่างนี้จึงให้เสนาอำมาตย์นำเนื้อเม่นที่ได้รับส่วนแบ่งครึ่งหนึ่งไปคืนให้สุวรรณนาค พร้อมกับฝากบอกไปว่า "ไม่ขอรับอาหารส่วนแบ่งที่ไม่เป็นธรรมจากเพื่อนที่ไม่ซื่อสัตย์" ฝ่ายสุวรรณนาคเมื่อได้ยิน ดังนั้น จึงได้รีบเดินทางไปพบสุทโธนาคเพื่อชี้แจงให้ทราบว่า เม่นถึงแม้ขนมันจะใหญ่โตแต่ตัวเล็กนิดเดียว ขอให้เพื่อนรับเนื้อเม่นไว้เป็นอาหารเสียเถิด สุวรรณนาคพูดเท่าไร สุทโธนาคก็ไม่เชื่อ ผลสุดท้ายทั้งสองฝ่ายจึงประกาศสงครามกัน ฝ่ายสุทโธนาคซึ่งมีความโกรธเป็นทุนอยู่ตั้งแต่เห็นเนื้อเม่นอยู่แล้ว จึงสั่งบริวารไพร่พลทหารรุกรบทันที ฝ่ายสุวรรณนาคจึงรีบเรียกระดมบริวารไพร่พลต่อสู้ทันทีเช่นเดียวกัน

ตามการบอกเล่าสู่กันฟังมาว่า พญานาคทั้งสองรบกันอยู่ถึง ๗ ปี ต่างฝ่ายต่างเมื่อยล้า เพราะต่างฝ่ายต่างหวังจะเอาชนะกันให้ได้ เพื่อจะครองความเป็นใหญ่ในหนองกระแสเพียงคนเดียว จนทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บริเวณหนองกระแส และบริเวณรอบๆ หนองกระแสเกิดความเสียหายเดือดร้อนไปตามกัน เมื่อเกิดรบกันรุนแรงที่สุดจนทำให้พื้นโลกสะเทือนเกิดแผ่นดินไหวทั้งหมด เทวดาน้อยใหญ่ทั้งหลายเกิดความเดือดร้อนไปทั้งสามภพ ความเดือดร้อนทั้งหลายได้ทราบไปถึง พระอินทราธิราชผู้เป็นใหญ่ เทวดาน้อยใหญ่ทั้งหลายไปเข้าเฝ้าพระอินทร์เพื่อร้องทุกข์ และเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ให้ฟัง เมื่อพระอินทร์ได้ทราบเรื่องตลอดแล้ว จะต้องหาวิธีการให้พญานาคทั้งสองหยุดรบกันเพื่อความสงบสุขของไตรภพ จึงได้เสด็จจากดาวดึงส์ลงมายังเมืองมนุษย์โลกที่หนองกระแส แล้วพระอินทร์ตรัสเป็นเทวราชโองการว่า "ให้ท่านทั้งสองหยุดรบกันเดี๋ยวนี้" การทำสงครามครั้งนี้ถือว่าทุกฝ่ายเสมอกัน และหนองกระแสให้ถือว่าเป็นเขตปลอดสงคราม ให้พญานาคทั้งสองพากันสร้างแม่น้ำคนละสายออกจากหนองกระแส ใครสร้างถึงทะเลก่อนจะให้ปลาบึก ขึ้นอยู่ในแม่น้ำแห่งนั้น และให้ถือว่าการทำสงครามครั้งนี้มีความเสมอกัน เพื่อป้องกันการทะเลาะวิวาทของพญานาคทั้งสอง ให้เอาภูเขาพญาไฟเป็นเขตกั้นคนละฝ่าย ใครข้ามไปราวีรุกรานกัน ขอให้ไฟจากภูเขาดงพญาไฟไหม้ฝ่ายนั้นเป็นจุลมหาจุล

เมื่อพระอินทร์ตรัสเป็นเทวราชโองการดังกล่าวแล้ว สุทโธนาคจึงพาบริวารไพร่พลอพยพออก จากหนองกระแสสร้าง แม่น้ำมุ่งไปทางทิศตะวันออกของหนองกระแส เมื่อถึงตรงไหนเป็นภูเขาก็คดโค้งไปตามภูเขา หรืออาจจะลอดภูเขาบ้างตามความยากง่ายในการสร้าง เพราะสุทโธนาคเป็นคนใจร้อน แม่น้ำนี้เรียกชื่อว่า "แม่น้ำโขง"

คำว่า "โขง" จึงมาจาคำว่า "โค้ง" ซึ่งหมายถึงไม่ตรง ส่วนทางฝั่งลาว เรียกว่า แม่น้ำของ ด้านสุวรรณนาค เมื่อได้รับเทวราชโองการดังกล่าว จึงพาบริวารไพร่พลพลอยอพยพออกจากหนองกระแส สร้างแม่น้ำมุ่งไปทางทิศใต้ของหนองกระแส สุวรรณนาคเป็นคนตรงพิถีพิถัน และเป็นผู้มีใจเย็น การสร้างแม่น้ำจึงต้องทำให้ตรง และคิดว่าตรงๆ จะทำให้ถึงจุดหมายปลายทางก่อน ตนจะได้เป็นผู้ชนะ แม่น้ำนี้เรียกชื่อว่า "แม่น้ำน่าน"

แม่น้ำน่าน จึงเป็นแม่น้ำที่มีความตรงกว่า แม่น้ำทุกสายในประเทศไทย

การสร้างแม่น้ำแข่งกันในครั้งนั้น ปรากฏว่าสุทโธนาคสร้างแม่น้ำโขงเสร็จก่อนตามสัญญาของพระอินทร์ สุทโธนาคเป็นผู้ชนะ และปลาบึกจึงต้องขึ้นอยู่แม่น้ำโขงแห่งเดียวในโลก ตามการบอกเล่าต่อๆ กันมาว่า น้ำในแม่น้ำโขง และแม่น้ำในแม่น้ำน่านจะนำมาผสมกันไม่ได้ ถ้าผสมใส่ขวดเดียวกันขวดจะแตกทันที ในกรณีนี้ยังไม่เคยเห็นท่านผู้ใดนำน้ำทั้งสองแห่งนี้มาผสมกันสักที สุทโธนาคเมื่อสร้างแม่น้ำโขงเสร็จแล้ว ปลาบึกขึ้นอยู่แม่น้ำโขง และเป็นผู้ชนะตามสัญญาแล้ว จึงได้แผลงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ณ ดาวดึงส์ ทูลถามพระอินทร์ว่า "ตัวข้าเป็นชาติเชื้อพญานาคถ้าจะอยู่บนโลกมนุษย์นานเกินไปก็ไม่ได้ จึงขอทางขึ้นลงระหว่างบาดาล และโลกมนุษย์เอาไว้ ๓ แห่ง และทูลถามว่าจะให้ครอบครองอยู่ตรงแห่งไหนแน่นอน พระอินทร์ผู้เป็นใหญ่จึงอนุญาตให้มีรูพญานาคเอาไว้ ๓ แห่ง คือ

๑. ที่ธาตุหลวงนครเวียงจันทน์

๒. ที่หนองคันแท

๓. ที่พรหมประกายโลก (ที่คำชะโนด)

ส่วนที่ ๑-๒ เป็นทางขึ้นลงสู่เมืองบาดาลของพญานาคเท่านั้น ส่วนสถานที่ ๓ ที่ พรหมประกายโลก คือ ที่พรหมได้กลิ่นไอดิน (ตามตำนานพรหมสร้างโลก) แล้วพรหมเทวดาลงมากินดินจนหมดฤทธิ์กลายเป็นมนุษย์ หรือผู้ให้กำเนิดมนุษย์ ให้สุทโธนาคไปตั้งบ้านเมืองครอบครองเฝ้าอยู่ที่นั้น ซึ่งมีต้นชะโนดขึ้นเป็นสัญลักษณ์ ลักษณะต้นชะโนดให้เอาต้นมะพร้าว ต้นหมาก และต้นตาลมาผสมกัน อย่างละเท่าๆ กัน และให้ถือเป็นต้นไม้บรรพกาล ให้สุทโธนาค มีรูปลักษณ์ ๒ ลักษณะ คือ ข้างขึ้น ๑๕ วัน ให้สุทโธนาค และบริวารกลายร่างเป็นมนุษย์ เรียกชื่อว่า "เจ้าพ่อพญาศรีสุทโธ" มีวังนาคินทร์คำชะโนดเป็นถิ่น และอีก ๑๕ วัน ในข้างแรม ให้สุทโธนาค และบริวารกลายร่างเป็นนาค เรียกชื่อว่า "พญานาคราชศรีสุทโธ" ให้อาศัยอยู่เมืองบาดาล ตั้งแต่บัดนั้นมาถึงกึ่งพุทธกาล นับแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ถอยหลังไป พี่น้องชาวบ้านม่วง บ้านเมืองไพร บ้านวังทอง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี จะไปพบเห็นชาวเมืองชะโนดไปเที่ยวงานบุญประจำปี หรือบุญมหาชาติที่ชาวบ้านเรียกว่า บุญพระเวท ทั้งผู้หญิงและผู้ชายอยู่บ่อยครั้ง และบางทีจะเป็นผู้หญิงไปยืมเครื่องมือทอหูก (ฟืม) ไปทอผ้าอยู่เป็นประจำ และปาฏิหาริย์ครั้งล่าสุดคือ ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เกิดน้ำท่วมใหญ่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง (รวมทั้งท้องที่อำเภอบ้านดุง) แต่น้ำไม่ท่วมคำชะโนด
หมายเหตุ หลวงปู่คำบุ ท่านได้มรณภาพปี2557 ไปแล้วควรค่าแก่การเก็บบูชาอย่างยิ่ง
ราคาเปิดประมูล240 บาท
ราคาปัจจุบัน251 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ11 บาท
วันเปิดประมูล - 25 มี.ค. 2562 - 20:54:13 น.
วันปิดประมูล - 01 เม.ย. 2562 - 01:30:28 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลyodlaem (390)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     251 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     11 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Phitchaya99 (845)

 

Copyright ©G-PRA.COM