(0)
สมเด็จบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่ หลวงปู่ลำภู วัดใหม่อมตรส ปี2502 ไม่ลงกรุ พระสวย








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องสมเด็จบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่ หลวงปู่ลำภู วัดใหม่อมตรส ปี2502 ไม่ลงกรุ พระสวย
รายละเอียดหลวงปู่ลำภู คงคปัญโญ หรือทานพระครู อมรคุณาจาร รองเจ้าอาวาสวัดบางขุนพรมนอก(วัดใหม่อมตรส) ท่านเกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2444 ที่ตำบล ท่าหลวง อำเภอ ท่าเรือ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา

พระสมเด็จของท่านเริ่มสร้างมาก่อนปี 2500 โดยท่านได้เก็บ"พระสมเด็จบางขุนพรม"แตกหัก ที่พวกตกพระทิ้งไว้รอบเจดีย์ จะเอาพระที่ตกได้สภาพสวยๆเท่านั้น อีกทั้งในอดีตการนำพระที่แตกหักเข้าบ้านถือว่าไม่มงคลต่อตนเอง หลวงปู่ลำภูจึงเก็บสะสมพระ"สมเด็จบางขุนพรมกรุเก่า"ไว้เป็นจำนวนมาก และได้นำมาตำ บด ผสมกับผงพุทธคุณของท่านเอง แล้วกดพิมพ์ขึ้นใหม่ โดยท่านได้สร้างพิมพ์พระของท่านไว้ทั้งหมด 11 พิมพ์หลัก เว้นพิมพ์ไสยาสน์ คือ

1."พิมพ์ใหญ่" แบ่งเป็นในหมวดเกศทะลุซุ้มและเกศจรดซุ้ม

- ในหมวดเกศทะลุซุ้ม เช่น พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้มมีสังฆาฏิ พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้มเกศยาว พิมพ์ใหญ่เกศทะลซุ้มเกศสั้น พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้มเกศเอียง พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้มมีจุดข้างเกศ พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้มต้อ พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้มจุดไข่ปลา ฯลฯ

- ในหมวดเกศจรดซุ้ม เช่น พิมพ์ใหญ่เกศจรดซุ้มบล็อคแตก พิมพ์ใหญ่เกศจรดซุ้มมีติ่งข้างซุ้ม พิมพ์ใหญ่เกศจรดซุ้มเส้นซุ้มหนา พิมพ์ใหญ่เกศจรดซุ้มเกศเอียง พิมพ์ใหญ่เกศจรดซุ้มพิมพ์ล่ำ พิมพ์ใหญ่เกศจรดซุ้มพิมพ์ซุ้มเกิน พิมพ์ใหญ่เกศจรดซุ้มกดด้วยเครื่อง ฯลฯ

2."พิมพ์เส้นด้าย" แบ่งเป็น เส้นด้ายมีขีด เส้นด้ายมีติ่งมุมล่าง เส้นด้ายไหล่ยก เส้นด้ายซุ้มขาด เส้นด้ายมีจุด เส้นด้ายลึก

3."พิมพ์ทรงเจดีย์" แบ่งเป็น พิมพ์เจดีย์มีหู พิมพ์เจดีย์ไม่มีหู พิมพ์เจดีย์ใหญ่

4."พิมพ์เกศบัวตูม" แบ่งเป็นพิมพ์เกศบัวตูม พิมพ์สังฆาฏิเกศบัวตูม(พิมพ์นอก)

5."พิมพ์สังฆาฏิ" แบ่งเป็นพิมพ์สังฆาฏิ แบ่งเป็นหมวดมีหู และไม่มีหู

- สังฆาฏิมีหูมีสองแบบ คือสังฆาฏิมีหู (พิมพ์ร้อยจุด) และพิมพ์สังฆาฏิหูช้าง ซึ่งทั้งสองพิมพ์นี้มีความใกล้เคียงเรื่องพิมพ์ทรงเป็นอย่างมาก แต่ที่ต่างกันที่สำคัญๆ สองจุดคือ พิมพ์สังฆาฏิมีหูร้อจุด จะมีร่องอกเสนสังฆาฏิ และรอบเส้นซุ้มโดยรวมมีจุดเล็กๆเป็นจำนวนมาก ส่วนพิมพ์สังฆาฏิหูช้าง ส่วนใหญ่เท่าที่พบไม่ค่อยเห็นอกร่อง เส้นสังฆาฏิ และพิมพ์นี้จะมีความใกล้เคียงกับพระสมเด็จบางขุนพรมพิมพ์สังฆาฏิมากๆ ซึ่งสัณนิฐานว่าหลวงปู่คงนำพระสมเด็จบางขุนพรมมาถอดพิมพ์ จึงมีความใกล้เคียงกับสังฆาฏิของขางขุนพรมเป็นอย่างมาก

- สังฆาฏิไม่มีหู พิมพ์สังฆาฏิไม่มีหูแบบมีเส้นแซมที่ฐาน และ พิมพ์สังฆาฏิไม่มีหูแบบไม่มีเส้นแซมที่ฐาน

6."พิมพ์ปรกโพธิ์" แบ่งเป็น 2 แบบคือ

- พิมพ์ปรกโพธิ์มาตรฐานของหลวงปู่เอง

- พิมพ์ปรกโพธิ์พิมพ์บางขุนพรม 09

7."พิมพ์ฐานคู่"

8."พิมพ์ฐานแซม" แบ่งเป็น 2 แบบคือ

- พิมพ์ฐานแซมอกร่องตลอด

- พิมพ์ฐานแซมอกเต็ม

9."พิมพ์อกครุฑ"

10."พิมพ์คะแนน" (พบเห็นน้อยมาก) แบ่งเป็นสองแบบคือ

- พิมพ์คะแนนของหลวงปู่เอง พิมพ์ทรงลึกชัด

- พิมพ์คะแนนบล็อค บางขุนพรม 09

11."พิมพ์จันทร์ลอย" แบ่งเป็น 2 แบบคือ

- พิมพ์จันทร์ลอย หลังเรียบ ยุคต้น

- พิมพ์จันทร์ลอย หลังตราจมในเนื้อว่า หลวงปู่ลำภู เป็นพระยุคหลัง

เนื้อหาโดยรวมของพระสมเด็จของหลวงปู่ลำภูเป็นพระเนื้อค่อนข้างร่วน มีทั้งแบบที่มีคราบกรุ และไม่มีคราบกรุ (แจกมือ) ในส่วนพระที่มีคราบกรุยังสามารถแบ่งได้เป็นสองแบบใหญ่ๆ คือ"กรุตุ่มน้ำมนต์" และ"กรุใต้ต้นโพธิ์" สำหรับพระที่ลงกรุตุ่มน้ำมนต์ เนื้อจะเหลือง บางองค์เหลืองเข้มจนออกสีน้ำตาล ส่วนพระที่ลงกรุฝังใต้ต้นโพธิ์หน้ากุฏิ คราบกรุจะเป็นเม็ดทรายจับตัวกันแน่น กับตังอิ้ว จนบางครั้งล้างไม่ออก และมีบางส่วนที่ลงกรุที่"วัดไก้จ้น" อยุธยา วัดบ้านเกิดของท่านที่ท่านบวชครั้งแรก โดยพระสมเด็จของท่านตามที่กล่าวไว้ข้างต้นว่ามีส่วนผสมของพระสมเด็จบางขุนพรมผสมอยู่มาก มากเท่าๆกับพระสมเด็จบางขุนพรม 09 หรือบางองค์ที่เคยลองฝนหลังดู ปรากฏว่ามีเม็ดสมเด็จผสมอยู่มากจนน่าตกใจ เนื้อพระสมเด็จหลวงปู่ลำภู สามารถแบ่งเป็น 2 ยุคคร่าวๆ คือพระยุคต้น เนื้อค่อนข้างหยาบ (แก่ผงเก่า) และพระยุคหลัง (เนื้อละเอียด)

ในปัจจุบัน พระสมเด็จหลวงปู่ลำภูยังมีราคาค่างวด ต่ำมาก ทั้งๆที่เป็นพระดี มวลสารเยี่ยม ซึ่งอาจเป็นเพราะพระของหลวงปู่มีหลากหลายสภาพ ยากแก่การพิจารณา เฉพาะกรุตุ่มน้ำมนต์เท่าที่เคยพบเห็นก็มีหลากหลายสภาพมากๆ ตามสภาพที่พระองค์นั้นๆที่อยู่ในตุ่ม บางองค์มีคราบกรุน้อย เพราะอยู่ในตุ่มไม่นาน อยู่ต่ำแหน่งบนๆ ไม่นานก็มีลูกศิษย์ท่านที่ไปกราบท่านแล้วหยิบไป ส่วนบางองค์มีคราบกรุหนา เพราะอยู่ในตุ่มนาน บางองค์คราบกรุเคลือบเป็นฟองเต้าหู้ละเอียดทั้งองค์ เพราะอยู่ก้นตุ่ม กว่าผงกรุบางขุนพรมที่ท่านโปรยลงไปจะตกตะกอนก็เป็นเวลานาน ผงกรุที่จับองค์พระจึงละเอียด ส่วนบางองค์คราบกรุหนาแต่ผงกรุที่จับเป็นเม็ดทรายค่อนข้างหยาบ ก็แสดงว่าพระองค์นั้นอยู่บริเวณกลางๆตุ่ม ซึ่งทำใหพระของหลวงปู่มีเสน่ห์เพราะพระแต่ละองค์มีคราบกรุเป็นธรรมชาติ ไม่ซ้ำกัน และส่วนที่สำคัญอีกอย่างที่ทำให้พระของท่านน่าศึกษาและสะสม คือราคาเพราะในปัจจุบัน พระยุคต้นถึงปี 02 ราคาก็ยังอยู่ในระดับพันต้นๆ ส่วนพระยุคหลังตั้งแต่ปี 251x กว่าๆ บางองค์ราคายังไม่ถึงพัน จึงเป็นพระสมเด็จยุคกลางที่น่าศึกษาอีกรุ่น

***อ้างอิงค์ข้อมูลจากพี่Buddha_au***
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน600 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 31 พ.ค. 2562 - 20:08:24 น.
วันปิดประมูล - 01 มิ.ย. 2562 - 22:51:04 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลBaanjuntiwara (377)(2)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 31 พ.ค. 2562 - 20:10:02 น.



ข้อมูลเพิ่มเติม


 
ราคาปัจจุบัน :     600 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Chanachok (1.8K)

 

Copyright ©G-PRA.COM