(0)
วัดใจ พระนางพญา วัดสัมพันธวงค์ ปี 2499 แม่ชีบุญเรือนอธิฐานจิตปลุกเสก







ชื่อพระเครื่องวัดใจ พระนางพญา วัดสัมพันธวงค์ ปี 2499 แม่ชีบุญเรือนอธิฐานจิตปลุกเสก
รายละเอียดพระนางพญา วัดสัมพันธวงศ์ ปี 2499 แม่ชีบุญเรือนอธิฐานจิตปลุกเสก พิธีบรรจุพุทธมนต์ นับได้ว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคกึ่งพุทธกาล ถูกต้องตามตำนานปลุกเสกนาน 18 วัน 18 คืน โดยที่พิเศษคือ การรวมตัวของพระสายพระป่าสายหลวงปู่มั่น และเกจิอาจารย์สายภาคตะวันออกที่มากที่สุดเกือบร้อยรูป โดยมี พระราชรัชมงคลโกวิท อดีตเจ้าอาวาสวัดสารนารถ เป็นประธานในพิธี และพระอาจารย์ลี วัดอโศการาม เป็นประธานในการดำเนินงานและร่วมปลุกเสก พิธีอธิษฐานธรรมโดยคุณแม่บุญเรือน และ พิธีเทพมนต์โดย โยคี ฮาเร็บ (อาจารย์ชื่น จันทรเพ็ชร) จัดที่บูชาพร้อมเครื่องสังเวยต่างๆ มีเทียนธูป ข้าวตอก ดอกไม้ 7 สี และอาหารผลไม้ถึงอย่างละ 375 ที่ มีเบญจา มีเศวตฉัตร 9 ชั้น สูง 6 ศอก 8 ต้น บายศรีเงิน - บายศรีทอง 9 ชั้น สูง 6 ศอก อย่างละ 8 ต้น
พระเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงเข้าร่วมพิธีประจุมนต์ปลุกเสกเช่น
- พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) วัดบวรนิเวศวิหาร
- พระวรเวทย์คุณาจารย์ (เมี้ยน ปภสสโร) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
- พระมหารัชชมังคลาจารย์
- พระมงคลเทพมุนนี (สด จนฺทสโร) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
- พระครูวินัยธรเฟื้อง (ญาณปปทีโป)
- หลวงพ่อลี วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
- พระสอาด อภิวัฑฒโน วัดสัมพันธวงศ์
- พระครูนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
- พระอาจารย์บุ่ง วัดใหม่ทองเสน
- พระชอบ สัมจารี วัดอาวุธวิธกสิตาราม
- หลวงสิม วัดถ้ำผาปล่อง
- หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่
- หลวงปู่ทาบ วัดกระบก
- หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส
- หลวงพ่อแดง วัดเขาบรรไดอิฐ
- หลวงพ่อทองสุข วัดตโหนดหลวง
- หลวงพ่อเต๋ วัดคงทอง
- หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
- หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา
- หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
- หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง
- หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว
- หลวงปู่นาค วัดระฆัง
- หลวงพ่ออ้น วัดบางจาก
- หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
- หลวงพ่อภักตร์ วัดบึงทองหลาง
- หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
- หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
- หลวงพ่อเขียว วัดทรงหลบน
- หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน
- พระอาจารย์ วัดดอนศาลา
- หลวงพ่อเขียน วัดถ้ำขุนเณร
- หลวงพ่อเหลือ วัดเขาชะโหงก
- หลวงพ่อแจ๋ วัดโพธิ์เฉลิมรักษ์
- หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม ฯลฯ และอีกหลายคณาจารย์ ซึ่งปลุกเสกพิธีใหญ่
พร้อมด้วยบันจุ เทพมนตพรหมมนต์ โดยเชิญเทพแลพรหมผู้มีชื่อเสียงเก่าๆ มาเข้าทรงประกอบพิธีอธิษฐานบันจุมนต์ลงด้วย และบันจุมนต์โยคีโดยโยคีฮาเร็บ (อาจารย์ชื่น จันทรเพ็ชร) ผู้มีชื่อเสียงและ พ.ต.อ.ชลอ อุทกภาชน์ ผู้เป็นศิษย์เป็นผู้ทำพิธีบรรจุ เสร็จพิธีแล้ว จึงได้ใช้ผงประสมทำเป็นองค์พระได้มงคลฤกษ์ จึงได้ทำพิธีปลุกเศกพระเครื่องนั้นอีกครั้งหนึ่ง
พระเครื่องที่จะทำพิธีปลุกเศกนั้น ห่อด้วยผ้าขาว ๗ ชั้น ผ้าเขียว ๗ ชั้น พิธีนอกนั้นเหมือนเมื่อบันจุมนต์ลงในผงแลน้ำที่จะสร้างพระ ตั้งน้ำมนต์สำหรับแจกผู้ต้องการซึ่งมาร่วมพิธี ๔๐ ตุ่ม แต่ไม่ได้กล่าวถึงผงที่นำมาประสมสร้างพระนั้นว่ามีอะไรบ้าง มีผู้สนใจต้องการทราบอยู่เป็นจำนวนมา จึงสมควรเขียนประวัติ เนื่องด้วยผงที่นำมาประสมสร้างพระเครื่องนั้น ให้ท่านทราบไว้ด้วย ดังต่อไปนี้
๑. ผงขอจากพระอาจารย์ต่าง ๆ ที่ท่านทำและรวบรวมไว้หลายวัด เช่น วัดพระเชตุพน วัดตรีทศเทพ และวัดสัมพันธวงศ์ ฯลฯ ผงแป้งที่ทำแลผงจากพระของเก่าบ้าง
๒. ผงพระที่ทำด้วยว่านต่างๆ ที่นิยมว่าเป็นมงคลศักดิ์สิทธิ์ ๑๐๘ อย่าง ทำจากดอกไม้บูชาพระต่างๆ ๑๐๘ อย่าง
๓. ผงที่ทำด้วยดินจากท่าน้ำ ๗ ท่า และจากสระน้ำ ๗ สระ
๔. ผงที่ทำด้วยเอาคัมภีร์เก่าๆ ทั้งใบลานแลสมุดข่อยมาเผาบด ตั้งแต่หมายเลข ๑ ถึง ๕ นี้ประสมสร้างพระผงรุ่นก่อน แล้วเอาบดผสมเข้ากัน กับผงใหม่ที่นำมาเข้าพิธีนี้ด้วย
๕. ผงที่ได้จากดินที่สังเวชนียสถาน ๔ แห่งในอินเดีย คือ ๑ ดินที่ลุมพินีระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และเทวทหะ ซึ่งเป็นที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ๒ ดินที่มหาโพธิพุทธคยาที่ตรัสรู้ ๓ ดินทีสารนาถ มฤคทายวัน เมื่องพาราณสี ซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักร ๔ ดินที่กุสินาราซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน
๖. ดินจากสถานที่สำคัญอีก ๙ แห่ง คือดินจากสถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จเสวยวิมุติสุข ๗ แห่ง บริเวณพุทธคยา มีที่รัตนะจงกลม แลที่สระมุจลิน เป็นต้น แลดินที่พระคันธกุฏีที่ประทับของพระพุทธเจ้าบนเขาคิชกูฏ (เมืองราชคฤห์) ๑ ดินที่พระคันธกุฏีที่ประทับในเมืองสาวัตถี ๓ ซึ่งพระครูสุภารพินิจ (โทน สุขพโล) วัดสัมพันธวงศ์ ได้ไปนมัสการปูชนียสถานนั้นๆ และได้นำมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ ผู้ที่มีพระเครื่องแบบพุทธมงคลมหาลาภ พระแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นต้นไว้บูชา เป็นอันได้ระลึกถึงแลบูชา สังเวชนียสถานด้วย
๗. ผงปูนขาวหินราชบุรี
๘. ผงปูนซิเมนต์ขาว และนอกจากนี้ ก็ยังมีดินเหนียวอย่างดี สีเหลือง แลน้ำอ้อย เป็นต้น ผงเหล่านี้นั้น ประสมกันมากบ้างน้อยบ้าง แล้วบดให้ละเอียดแร่งกรองด้วยผ้าป่าน สำเร็จเป็นผงที่จะสร้างพระเครื่อง ใช้น้ำมนต์ที่ทำไว้นั้นประสมกับของที่จะทำพระให้พระมีคุณภาพดี สวยงามทนทาน ศักดิ์สิทธิ์ต่อไป ประสมผงพิมพ์เป็นรูป พระพุทธมงคลมหาลาภบ้าง สมเด็จบ้าง
ส่วนพระเครื่องอื่นสร้างด้วยดินประสมผงเผาแล้วนำมา เข้าพิธีปลุกเศกในคราวเดียวกันกับพระพุทธมงคลมหาลาภ เสร็จพิธีแล้วแจกจ่ายในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี พร้อมด้วยพระอัครสาวก ในการต่อมา พระเครื่องเหล่านี้ เมื่อแจกจ่ายแก่ผู้จำนงในงานผูกพัทธสีมา อุโบสถวัดสารนาถธรรมารามแล้ว ก็จะได้จัดการทำพิธีบันจุในอุโบสถ หรือเจดีย์ตามควร เพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่วัดสารนาถธรรมาราม อันเป็นมหาปูชนียสถานในกาลต่อไปฯ
ราคาเปิดประมูล50 บาท
ราคาปัจจุบัน1,250 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 15 ธ.ค. 2562 - 07:37:56 น.
วันปิดประมูล - 16 ธ.ค. 2562 - 08:01:09 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลWinyuchon (1K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     1,250 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    pyakorn (3.3K)

 

Copyright ©G-PRA.COM