(0)
สมเด็จ กรุวัดขุนอินทประมูล จ อ่างทอง พร้อมบัตรรับประกันพระแท้จาก สถาบันตรวจสอบและวิจัยพระเครื่องสยามอมูเล็ท








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องสมเด็จ กรุวัดขุนอินทประมูล จ อ่างทอง พร้อมบัตรรับประกันพระแท้จาก สถาบันตรวจสอบและวิจัยพระเครื่องสยามอมูเล็ท
รายละเอียดคราบกรุบางๆ จัดทั่วองค์ สวยสมบูรณ์
พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง



พระสมเด็จวัดระฆังฯ ซึ่งจัดสร้างโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ปัจจุบันเป็นที่แสวงหาของนักสะสมเล่นหากันองค์ละเป็นหลักแสนหลักล้าน
ด้วยจำนวนที่มีอยู่น้อย ส่งผลทำให้พระพิมพ์สมเด็จที่มีความเกี่ยวข้องกับสมเด็จโต ได้รับความนิยมตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น พระสมเด็จกรุบางขุนพรหม พระสมเด็จเกศไชโย รวมถึง พระสมเด็จกรุนี้ด้วย
“พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล” วัดขุนอินทประมูล ต.อินทประมูล อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
จากประวัติวัดขุนอินทประมูล เดิมเป็นเพียงสำนักสงฆ์ เคยเป็นที่ตั้งของชุมชนมาตั้งแต่สมัยทวารวดีจนถึงสมัยสุโขทัย ถือเป็นชุมชนใหญ่ริมฝั่งคลองบางพลับ ซึ่งเป็นคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำน้อยกับแม่น้ำเจ้าพระยา
จากตำนานสิงหนวัติ กล่าวถึงการจัดสร้างพระพุทธไสยาสน์ วัดขุนอินทประมูล ครั้งหนึ่งในสมัยสุโขทัย พระยาเลอไทได้เสด็จออกจากกรุงสุโขทัยทางชลมารคเพื่อนมัสการพระฤาษีสุกกะทันตะ ผู้เป็นพระอาจารย์ ณ เขาสมอโคน เขตกรุงละโว้
จากนั้นเสด็จกลับโดยล่องตามคลองบางพลับเพื่อเสด็จประพาสท้องทุ่ง และแวะประทับแรม ณ โคกบางพลับ ทรงเกิดศุภนิมิตทอดพระเนตรเห็นดวงไฟดวงใหญ่ลอยขึ้นเหนือยอดไม้ แล้วหายไปทางทิศตะวันออก พระองค์ทรงโสมนัสและดำริให้สร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้น ขนานนามว่า “พระพุทธไสยาสน์เลอไทนฤมิตร”
จากนั้นมา พระพุทธไสยาสน์เลอไทนฤมิตร ก็ได้ถูกทิ้งร้างไม่ได้รับการดูแล จนชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา จวบจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี รัชสมัยพระเจ้าบรมโกศ มีนายอากรตำแหน่งที่ “ขุนอินทประมูล” ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก
“ขุนอินทประมูล” มีความตั้งใจอันแรงกล้า ประสงค์บูรณะพระพุทธไสยาสน์และสร้างวัด เริ่มแรกได้นำทรัพย์สินส่วนตัวประมาณ 100 ชั่ง นำมาสร้างวิหาร และเจดีย์ ณ โคกใหญ่ด้านตะวันออกสำเร็จลง
ต่อมาเห็นว่าพระพุทธไสยาสน์ทรุดโทรมมาก การบูรณะต้องใช้ทุนทรัพย์เป็นจำนวนหลายร้อยชั่ง ทรัพย์ส่วนตัวไม่เพียงพอ จึงยักยอกพระราชทรัพย์หลายร้อยชั่งมาสร้างจนสำเร็จ แล้วพยายามปกปิดไว้
เมื่อข่าวลือสะพัดไปถึง พระยาวิเศษไชยชาญ เจ้าแขวงเมืองวิเศษไชยชาญ ส่งคนมาสอบถามได้ความจริง จึงนำเรื่องขึ้นกราบทูลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ โปรดเกล้าฯ ให้พระยากลาโหมขึ้นมาไต่สวน
ขุนอินทประมูลให้การภาคเสธ โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์ส่วนตนจัดสร้างเองทั้งหมด จึงถูกลงทัณฑ์ เมื่อใกล้สิ้นใจได้ขอพระราชทานให้งดโทษ แล้วสารภาพว่า ได้ยักยอกพระราชทรัพย์ไปจริง แต่มุ่งสร้างให้เป็นการเสริมพระบารมี ภายหลังขุนอินทประมูลทนรับการลงทัณฑ์ไม่ไหวถึงแก่กรรมเมื่อพ.ศ.2296 อายุได้ 80 ปีเศษ พระยากลาโหมกลับไปทูลความ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงทราบเสด็จฯขึ้นมาทอดพระเนตรด้วยพระองค์เอง ทรงเห็นว่า ขุนอินทประมูลมีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทรงโปรดให้ฝังร่างของขุนอินทประมูลไว้เขตพระวิหาร ด้านหลังองค์พระพุทธไสยาสน์
หลังจากทำพิธียกเกศทองคำหนัก 100 ชั่ง พระราชทานประดับเหนือเศียรพระพุทธไสยาสน์ พระราชทานนามวัดว่า “วัดขุนอินทประมูล” และถวายนามพระพุทธไสยาสน์ว่า “พระพุทธไสยาสน์ขุนอินประมูล”
“พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล” มีการเอ่ยอ้างและสันนิษฐานว่า ได้รับความเมตตาจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นผู้สร้าง หรือร่วมสร้างและบรรจุในใต้ฐานของพระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล หรืออย่างน้อยที่สุดก็อาจจะได้รับพระบารมีจากสมเด็จโต
เหตุผลสนับสนุน สืบเนื่องจากครั้งหนึ่งเมื่อประมาณปีพ.ศ.2410 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้เดินทางมาตรวจสอบพื้นที่สร้างพระพุทธรูปนั่ง พระมหาพุทธพิมพ์ ณ วัดไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทอง ครั้งนั้นเป็นฤดูน้ำหลาก สมเด็จโตได้ให้ชาวบ้านผู้ติดตามแจวเรือลัดทุ่งนามานมัสการพระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูล
ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา เซียนพระและนักสะสมไม่เคย ได้ยินเรื่อง“พระสมเด็จกรุขุนอินทประมูล” มาก่อนเลย จวบจนกระทั่งปี 2551 ทางวัดขุนอินทประมูล เปิดให้ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่ามหากุศลสร้างอุโบสถหลังใหม่ โดยมีพระพิมพ์สมเด็จเป็นของสมนาคุณ
ตั้งแต่นั้น พระสมเด็จกรุขุนอินประมูล จึงถูกเปิดเผยขึ้น โดยระบุว่า แตกกรุยุคแรกๆประมาณปีพ.ศ.2530 ซึ่งเกิดจากการแอบขุดของคนบางกลุ่ม โดยการขุดตรงบริเวณด้านหลังกึ่งกลางองค์พระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูล ขณะที่กำลังทำการบูรณะ คนกลุ่มนี้ปัจจุบันโดนวิบากกรรมอย่างหนัก บางคนเกิดอุบัติเหตุเกือบเอาชีวิตไม่รอด
ต่อมาได้มีผู้ที่รวบรวมพระสมเด็จกรุวัดขุนอินทประมูล จำนวน 2,000 องค์นำถวายคืนวัด เพื่อสนับสนุนการสร้างอุโบสถ ซึ่งมีการรวบรวมประวัติและองค์พระพิมพ์ต่างๆ จัดทำเป็นหนังสือ ซึ่งขายดีมาก รวมถึงพระกรุนี้ได้ถูกเผยแพร่ผ่านทางอินเตอร์เน็ต มีการเปิดประมูลราคากันอย่างคึกคัก
พระสมเด็จกรุขุนอินประมูล พิมพ์หลักๆมีทั้งหมด 4 พิมพ์คือ พิมพ์พระประธาน, พิมพ์ใหญ่, พิมพ์ทรงเจดีย์ และพิมพ์คะแนน(องค์เล็ก) ซึ่งพระสมเด็จวัดระฆังฯ พระสมเด็จบางขุนพรหม และพระสมเด็จเกศไชโย ไม่มีพระสมเด็จองค์เล็ก หรือพิมพ์คะแนน แต่มีจำนวนไม่มาก จึงเป็นข้อแตกต่างไปจากพระสมเด็จวัดระฆังฯ เนื้อพระเป็นพระผงสีขาว มีมวลสารตามทฤษฎีของพระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) เป็นพระรูปทรงสี่เหลี่ยมและมีขนาดเท่าๆกับพระสมเด็จวัดระฆังฯ พุทธศิลป์ใกล้เคียงกันมาก
ราคาเปิดประมูล300 บาท
ราคาปัจจุบัน600 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 15 ก.พ. 2563 - 00:56:37 น.
วันปิดประมูล - 16 ก.พ. 2563 - 02:42:31 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลadisak197 (551)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     600 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    bear2509 (4K)

 

Copyright ©G-PRA.COM