(0)
หลวงปู่สี เหรียญจตุรพิธพรขัย สภาพสวย






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องหลวงปู่สี เหรียญจตุรพิธพรขัย สภาพสวย
รายละเอียด#เหรียญหลวงปู่สี รุ่น จตุรพิธพรชัย

ปี พ.ศ.2518 (สภาพสวย)

ประวัติการสร้างวัตถุมงคลชุดนี้น่าสนใจมากเพียงแต่คนจะทราบรายละเอียดค่อนข้างน้อยทำให้หลายคนมองข้ามของดีในพิธีนี้ไปอย่างน่าเสียดายครับ ประวัติมีอยู่ว่าเนื่องจากนายเรียน นุ่มดี ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่ดู่ วัดสะแก) ในสมัยนั้นท่านกำลังใกล้จะเกษียณอายุราชการและจะกลับไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่บ้านเกิดที่อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี แต่เนื่องด้วยวัดเขาใหญ่ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่และเป็นวัดใกล้บ้านเกิดนั้นมีสภาพทรุดโทรม เสนาสนะก็ไม่ได้รับการบูรณะมานานมาก ดังนั้นนายเรียนจึงมีความตั้งใจที่จะหารายได้จำนวนหนึ่งไปปฏิสังขรณ์วัดเขาใหญ่ให้สวยงาม พร้อมทั้งสร้างวิหารจตุรพิธพรชัยขึ้นใหม่ จึงได้นำความมาปรึกษากับหลวงปู่ดู่ท่านว่าจะทำอย่างไรดี หลวงปู่ดู่ท่านจึงได้เมตตาแนะนำและให้คำปรึกษาในการจัดสร้างวัตถุมงคลตลอดจนการนิมนต์ครูบาอาจารย์มาร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลในพิธีนี้อย่างละเอียด โดยพิธีพุทธาภิเษกถูกหนดขึ้นที่วัดรัตนชัย (วัดจีน) อ.เมือง จ.อยุธยา เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2518
พิธีพุทธาภิเษก ในวันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ตรงกับวันแรม 7 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ จ.ศ. 1337
เวลา 15.09 น. โหรประกอบพิธีบูชาฤกษ์
เวลา 16.03 น. – 16.21 น. มหามงคลฤกษ์ ประกอบพิธีจุดเทียนชัย�เวลา 16.30 น. พระสงฆ์เถระ 9 รูปเจริญพระพุทธมนต์ในพิธี ( ในพระอุโบสถวัดรัตนชัย)�เวลา 19.09 น. พระพิธีธรรม 4 รูปเจริญพระคาถาพุทธาภิเษก พระคณาจารย์ 16 รูป เข้าประจำอาสนะปรก
ส่วนพระเกจิอาจารย์ที่รับนิมนต์มาร่วมพิธีมีทั้งหมด 16 รูปคือ
1. พระครูสังวรวิมล (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี อ.บางกอกใหญ่ จ.กรุงเทพฯ
2. พระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
3. พระรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเรไรย์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
4. พระโบราณคณิสสร (หลวงพ่อใหญ่) วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
5. พระครูประสาทวรคุณ (หลวงพ่อพริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนู อ.เมือง จ.ลพบุรี
6. พระครูสันทัดธรรมคุณ (หลวงพ่อออด) วัดบ้านช้าง อ.วังน้อย จ.อยุธยา
7. พระครูกัลยานุกูล (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณมิตร อ.ธนบุรี จ.กรุงเทพฯ
8. หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
9. พระครูอดุลวรวิทย์ (หลวงพ่อไวทย์) วัดบางซ้าย อ.บางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา
10. หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา
11. พระราชสุวรรณโสภณ วัดพนัญเชิง อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
12. พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี
13. พระครูสังฆรักษ์ (หลวงพ่อเฉลิม) วัดพระญาติการาม อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
14. พระครูภัทรกิจโกศล (หลวงพ่อหวล) วัดพุทไธสวรรค์ อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
15. หลวงพ่อโปร่ง วัดขุนทิพย์ อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
16. หลวงพ่อสมบูรณ์ วัดเขาถ้ำบุญนาค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ (ศิษย์ก้นกุฎิของหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค มาในนามของท่าน)
นับได้ว่าเป็นมหาพิธียิ่งใหญ่พิธีหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนิมนต์พระภาวนาจารย์นั่งปรกในพิธีฯ นายจอม ตรีนิตย์ อดีตพัศดีเรือนจำพระนครศรีอยุธยา เล่าถึงการนิมนต์หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาคฯ ร่วมพิธีปรกฯ หลวงปู่สีท่านพูดว่า “ อายุมากแล้ว ไม่สะดวกในการเดินทาง ขอให้จัดอาสนะไว้หนึ่งที่ ถึงเวลาที่ฤกษ์กำหนดจะไปช่วยปลุกเสก ”
เวลา 22.00 น. ประกอบพิธีดับเทียนชัยพระอาจารย์เจ้าทั้งนั้น พรมน้ำพระพุทธมนต์ฯ
หลายคนอาจสงสัยว่า ในเมือทำวัตถุมงคล ในนาน หลวงปู่สีแล้ว ท่านไม่ได้เดินทางมาปลุกเสกหรือครับ….�เหรียญรุ่นนี้ หลวงปู่ ท่านปลุกเสกที่วัด เป็นเวลา 1 เดือน ก่อนที่จะนำมาร่วมพิธีครับ และก็บวกกับว่า มีข้อมูลที่น่าว่าจะทำให้พิธี นี้ศักดิ์สิทธิ์มาก คือว่า หลวงปู่สี ท่านตอนนั้น อายุ 120กว่าปีแล้วครับ เดินทางมาไม่ไหวแน่ ท่านจึงจำวัด อยู่ที่กุฎิของท่าน(ปัจจุบันได้เรื้อไปแล้ว) ได้ส่งหลวงพ่อสมบูรณ์ ไปในนานของท่านแทนครับ แต่ก็มีลูกศิษย์ เชื่อว่า หลวงปู่ท่านเดินทางไปปลุกเสกด้วย โดยเดินญาณ มาร่วมปลุกเสก เพราะว่าท่านได้รับปาก กับหลวงปู่ดู่ไว้แล้วว่าจะมาร่วมปลุกเสกให้ จึงเท่ากับว่าเหรียญรุ่นนี้ หลวงปู่สีท่านปลุกเสก 2 ครั้งครับ

ส่วนวัตถุมงคลที่ปลุกเสกในพิธีนี้มีอยู่ 4 ประเภท (ไม่นับรวมของฝากในพิธีนี้) คือ
1. เหรียญ 9 พระอาจารย์ – จัดสร้าง 5,599 เหรียญ แบ่งออกเป็นอีกสองเนื้อคือ เนื้อเงิน (มีเพียงบางพระอาจารย์เท่านั้น) และเนื้อทองแดง มีทั้งแบบที่บรรจุในกล่องกำมะหยี่และที่ออกให้บูชาแบบเดี่ยว ๆ ที่นิยมเรียกว่า “เหรียญ 9 พระอาจารย์” นั้นเพราะว่าทางคณะกรรมการจัดทำเป็นเหรียญรูปเหมือนพระเกจิอาจารย์ที่ด้านหน้า และประทับยันต์ครูของท่านที่ด้านหลัง รวม 9 แบบ คือ หลวงพ่อนอ วัดกลาง หลวงพ่อถิร วัดป่าเรไรย์ หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู หลวงพ่อออด วัดบ้านช้าง หลวงพ่อไวทย์ วัดบางซ้าย หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม โดยเมื่อปั๊มเหรียญเสร็จจากโรงงาน คณะกรรมการได้นำเหรียญของแต่ละพระอาจารย์ไปมอบให้ที่วัดเพื่อให้ท่านปลุกเสกเหรียญของท่านล่วงหน้า 1 เดือนก่อนพิธีพุทธาภิเษกใหญ่
2. พระสมเด็จ 9 ชั้น – จัดสร้างเป็นเนื้อผงแก่น้ำมัน จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุ ตามประวัติกล่าวว่าพระชุดนี้หลวงปู่ดู่ท่านตั้งใจออกแบบพิมพ์และมวลสาร เพื่อถวายให้หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาคเป็นกรณีพิเศษ โดยด้านหน้าจะล้อพิมพ์พระสมเด็จวัดไชโย ด้านหลังเป็นยันต์ครูของหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค และมีคำว่า “วัดเขาถ้ำบุญนาค อ.ตาคลี” ประทับอยู่ใต้ยันต์ครู โดยหลวงปู่ดู่ท่านได้มอบผงมหาจักรพรรดิ์จำนวนหนึ่งไปผสมเป็นมวลสาร จากนั้นนายเรียนจึงนำเรื่องนี้ได้กราบเรียนหลวงปู่สีทราบ ซึ่งท่านก็อนุโมทนาและอนุญาตตามนั้นและได้มอบผงวิเศษของท่านมาอีกจำนวนหนึ่ง สุดท้ายหลังจากได้มวลสารและกดพิมพ์เป็นองค์พระเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ดู่ท่านได้บอกให้นายเรียนนำพระสมเด็จชุดนี้กลับไปให้หลวงปุ่สีท่านปลุกเสกเป็นปฐม ซึ่งหลวงปู่ท่านก็เมตตาปลุกเสกให้เป็นกรณีพิเศษ 1 เดือน (เป็นพระอีกชุดหนึ่งของสายนี้ที่ปลุกเสกนานมาก) เสร็จแล้วจึงให้นายเรียนมารับกลับไปเพื่อรอเข้าพิธีพุทธาภิเษกใหญ่
3. พระแก้ว 3 ฤดู – จัดสร้างเป็นเนื้อผงและมีการลงสีเขียวที่พระวรกาย ปิดทองที่เครื่องทรง เฉกเช่นเดียวกับพระแก้วมรกตที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.กรุงเทพฯ จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุไว้ มีทั้งแบบบรรจุกล่อง (ครบ 3 ฤดู) และที่ออกให้บูชาแบบเดี่ยว ๆ ด้านหน้าเป็นรูปพระแก้วมรกตทรงเครื่องตามฤดู (ร้อน / ฝน / หนาว) ด้านหลังประทับยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ (นะโมพุทธายะ) และมีคำว่า “วัดรัตนชัย (จีน) อยุธยา”
4. พระสามสมัย – จัดสร้างเป็นเนื้อผงโดยแบ่งออกเป็น 3 พิมพ์ คือ เชียงแสน สุโขทัย อู่ท่อง ขนาดจะเล็กประมาณพระของขวัญ วัดปากน้ำ จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุไว้ ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธรูปและที่ใต้พระพุทธรูปจะมีคำอธิบายศิลปะของพระพุทธรูปไว้ด้วย คือ เชียงแสน หรือ สุโขทัย หรือ อู่ทอง ด้านหลังประทับยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ (นะโมพุทธายะ) และมีคำว่า “วัดเขาใหญ่ สุพรรณบุรี”
เกล็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เล่าขานมาสืบมาเกี่ยวกับพิธีจตุรพิธพรชัย ว่ากันเป็นประเด็นเล็ก ๆ น้อย ๆ ดังนี้
▪ ครูบาอาจารย์หลายรูปรวมถึงหลวงพ่อกวยกล่าวกับศิษย์ของท่านว่า “พิธีนี้ศักดิ์สิทธิ์มาก”
▪ พิธีนี้หลวงปู่ดู่ท่านให้นายเรียนนิมนต์หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาคมาร่วมพิธีพุทธาภิเษก แต่ขณะนั้นท่านอายุ 126 ปีเข้าไปแล้ว ท่านจึงมอบหมายให้พระอาจารย์สมบูรณ์ ศิษย์ก้นกุฎิและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในขณะนั้นไปร่วมพิธีในนามของท่าน แต่จะว่าไปแล้วเรื่องที่คนคิดไม่ถึงก็คือ หลวงปู่สีท่านก็ได้เดินญาณมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกเช่นเดียวกัน เพราะท่านถือว่าท่านได้รับรับนิมนต์หลวงปู่ดู่ไว้แล้ว
▪ พิธีนี้ว่ากันว่า นอกจากหลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค เดินญาณมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกแล้ว ยังมีอีกรูปหนึ่งที่เดินญาณมาร่วมพิธีเหมือนกัน ซึ่งก็คือ หลวงปู่ดู่ วัดสะแก เพราะท่านรับปากนายเรียนว่าจะช่วยปลุกเสกอย่างเต็มที่
▪ ลูกศิษย์ท่านหนึ่งของหลวงพ่อกวยเคยถามว่า “หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค เป็นใคร ทำไมถึงมีเหรียญของท่านในชุดเหรียญ” หลวงพ่อกวยท่านตอบว่า “ท่านเป็นพระอรหันต์..”
▪ หลังจากพุทธาภิเษกเสร็จ มีนักเลงพื้นที่พูดคุยกันว่า “จะขลังแค่ไหน..” ปรากฎว่าคำพูดนี้ได้ยินไปถึงนายเรียน ทำให้นายเรียนนำความนี้เข้าปรึกษาครูบาอาจารย์ในพระอุโบสถว่า “จะทำอย่างไรดี..” เพราะเป็นที่ทราบกันว่าสมัยนั้นการลองของประเภทจะ ๆ นิยมกันมาก เช่น เอาปืนยิง เพราะต้องการทดสอบพุทธคุณในวัตถุมงคลนั้น ๆ ว่าดีจริงเพียงใด ถ้าสมมติว่า “ยิงออกหรือเหรียญโดนยิงทะลุ” ทุกอย่างที่ทำมาเป็นอันจบกัน ซึ่งในเวลานั้นครูบาอาจารย์ที่พรรษาน้อยไม่กล้าออกความเห็นจึงสงบนิ่งเพื่อให้ท่านที่พรรษาสูงกว่าปรึกษาและตัดสินใจกัน ระหว่างนั้นหลวงพ่อกวย ท่านได้ขออนุญาตครูบาอาจารย์ทุกรูปว่า “กระผมอาสา..” หลังจากนั้นท่านจึงนำเหรียญรูปเหมือนของท่านติดตัวไปด้วยหนึ่งเหรียญออกไปนอกพระอุโบสถ แล้วพูดขึ้นว่า “ใครจะเอาไปลองบ้าง” ปรากฎว่านักเลงคนหนึ่งขออาสาเป็นผู้ทดสอบ และได้นำเหรียญดังกล่าวไปยิงที่หลังพระอุโบสถ ปรากฎว่า “แชะ ๆ ๆ..” และได้นำเหรียญมาคืนหลวงพ่อกวยท่านพร้อมขอขมาท่าน พอชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวก็ประจักษ์ในพุทธคุณและเริ่มบอกปากต่อปากไปในวงกว้าง ส่วนหลวงพ่อกวยท่านจึงกลับเข้าไปในพระอุโบสถพร้อมกับกล่าวว่า “เรียบร้อย..”
▪ ก่อนพระเกจิอาจารย์ทั้งหมดจะเดินทางกลับวัด ทางคณะกรรมการได้มอบวัตถุมงคลในพิธีนี้จำนวนหนึ่งให้แก่พระเกจิอาจารย์ทุกรูป เพื่อให้ท่านนำกลับไปแจกลูกศิษย์ลูกหาที่วัด ทำให้วัตถุมงคลในพิธีนี้กระจายในหลายพื้นที่
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน25,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 09 ต.ค. 2565 - 22:17:32 น.
วันปิดประมูล - 12 ต.ค. 2565 - 11:14:34 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลSupaket808 (635)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     25,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    ผู้นำพล (1.8K)

 

Copyright ©G-PRA.COM