(0)
พระพุทธนะฤาชา ล.พ.สำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม อำเภอบางเลน จ.นครปฐม*-*วัดใจเริ่ม150-*-*






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระพุทธนะฤาชา ล.พ.สำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม อำเภอบางเลน จ.นครปฐม*-*วัดใจเริ่ม150-*-*
รายละเอียดของหายาก 🙂

👍 👍 👍 :: พระพุทธนะฤาชา หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร สร้างในปีพุทธศักราช ๒๔๙๗ เนื้อดินศักดิ์สิทธิ์อาบผงวิเศษ นะฤาชา พิมพ์เล็บมือ วัดเวฬุวนาราม จังหวัดนครปฐม
👍 👍 👍 :: #หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม จังหวัดนครปฐม ท่านเป็นพระโอรสของ เสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ กับ หม่อมทองนุ่น เกิดเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ปีพุทธศักราช ๒๔๖o ที่วังไชยา ก่อนที่หลวงพ่อสำเนียงจะถือกำเหนิดมาดูโลกนั้น นายเอม อยู่สถาพรเป็นพระสหายของเสด็จเตี่ย ได้เล่าให้หลวงพ่อฟังว่า "ขณะที่หม่อมแม่ทรงพระครรภ์ได้ ๒ เดือน เสด็จเตี่ยได้รับคำสั่งจากทางราชการให้ไปรับเรือหลวงพระร่วงที่ต่างประเทศ จึงได้พาหม่อมแม่ไปฝากไว้กับ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ซึ่งท่านเป็นพระอาจารย์ของเสด็จเตี่ย โดยให้นายเอม อยู่สถาพรซึ่งเป็นพระสหายเป็นผู้ดูแล" , ตัวหลวงพ่อสำเนียงจึงกลายเป็นลูก ๓ พ่อ ซึ่งเสด็จเตี่ย คือ พ่อผู้ให้กำเหนิด นายเอม เป็น พ่อเลี้ยงดู พร้อมกับ หลวงปู่ศุข เป็นพ่อ ผู้ดูแลให้การศึกษาเล่าเรียน
👍 👍 👍 :: #หลวงพ่อสำเนียงใช้นามสกุลของนายเอม คือ อยู่สถาพร (ในหนังสือไม่ได้ระบุสาเหตุ) หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร เมื่อเกิดมาแล้วก็ได้อยู่กับหลวงปู่ศุขจนเติบโต จึงได้มาศึกษาในกรุงเทพฯ ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ จนจบมัธยมปลาย จากนั้นไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จนจบจึงได้รับราชการทหารบก จวบได้รับยศร้อยเอก และเคยได้ร่วมสมรภูมิถึง ๒ ครั้ง คือ สงครามอินโดจีน และสงครามมหาบูรพา พอกลับจากศึกสงคราม ก็ถูกมรสุมร้ายทางการเมืองกระทำเอาถูกจองจำพร้อมกับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม - หลวงเสรี - หลวงวิจิตรวาทการ และคนอื่นๆ ในข้อหาอาชญากรสงคราม , เมื่อได้รับการปลดปล่อยหลวงเสรีได้ไปบวชที่วัด เบญจมบพิตร ส่วนหลวงพ่อสำเนียงท่านไปบวชอยู่ที่ วัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี ท่านตั้งใจบวชเพียง ๑๕ วัน แต่พอบวชได้ ๓ วัน ก็มีเหตุการณ์เมืองขึ้นมาอีก จึงทำให้ท่านเปลี่ยนความตั้งใจ เหตุการณ์บ้านเมืองกำลังยุ่งเหยิง จอมพล ป. พิบูลสงครามได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกวาระหนึ่ง แต่ต้องการให้หลวงพ่อสำเนียงกลับไปรับราชการอีก ทว่าท่านไม่ยอมสึก ทั้งได้ตั้งจิตอธิษฐานไว้ว่า จะขอยึดเอาผ้ากาสาวพัสตร์หุ้มห่อร่างกายจนกระทั่งตาย !!!
👍 👍 👍 :: พระพุทธฤาชา หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม นครปฐม มหาพุทธาภิเษกพิธี ๒๕ พุทธศตวรรษ ตอนกึ่งพุทธกาล สุดยอดมวลสาร และพิธีปลุกเสก พิมพ์เล็บมือ ที่สุดของความหายาก
👍 👍 👍 :: พระพุทธฤาชา หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม นครปฐม
• มหาพุทธาภิเษกพิธี ๒๕ พุทธศตวรรษ ตอนกึ่งพุทธกาล ได้ชื่อว่าเป็นพิธีของพระเครื่องไทยที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาตร์
👍 #หลวงพ่อหลวงปู่รูปใดมีชื่อว่าเฮี้ยนว่าขลังแม้อยู่ในป่าเขาก็ไปรับเอาตัวออกร่วมพิธีจนได้ทั้งหมด
👍 #ได้ยินว่าจะต้องใช้เฮลิคอปเตอร์ก็ใช้ทันที
👍 #เพราะว่ารัฐบาลเป็นคนจัดแจงทุกอย่าง
👍 #พิธี ๒๕ พุทธศตวรรษทำขึ้น ๒ ครั้ง คือที่วัดสุทัศน์ฯ ครั้งหนึ่ง วัดพระแก้วอีกครั้งหนึ่ง มีคณาจารย์นับร้อยกว่ารูปเข้าร่วมสมโภช
👍 #สมัยโน้นอยู่กันครบถ้วน
👍 👍 👍 :: หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ , หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี , หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก , หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา , หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม , หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ , หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ , หลวงพ่อลี วัดอโศการาม , หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง , หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง , หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้ , หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย , หลวงพ่อถิร วัดป่าเลย์ไลยก์ , หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
👍 👍 👍 :: #พระพุทธฤาชา ก็เป็นหนึ่งในบรรดาพระร่วมพิธี หรือจะเรียกว่าพระฝากพิธีก็ได้ หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เป็นผู้สร้างพระพุทธฤาชา โดยสร้างขึ้น ๓ พิมพ์ คือ พิมพ์สี่เหลี่ยม กพิมพ์สามเหลี่ยมยอดมน , พิมพ์เล็บมือ ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธเจ้าที่เป็นพุทธศิลป์อย่างเดียวกัน ด้านหลังประทับยันต์จมลึก ตัว นะฤาชา? เหมือนกันทุกองค์ ส่วนเนื้อมีลักษณะเป็นดินเผา มีทั้งสีดำ และแดง ถ้าจับแว่นขยายดูจะไม่เห็นว่ามีมวลสารอะไรน่าสนใจ แต่แท้จริงแล้วมวลสารในองค์พระทั้งหมดเป็นเลิศ พอเอามาเผาแล้วก็กลืนเป็นเนื้อเดียวกันหมด ลักษณะอันนี้ปรากฏในพระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ เนื้อดินเผาทุกองค์
👍 👍 👍 :: #ศิษย์ของหลวงพ่อสำเนียงได้บันทึกรายละเอียดของมวลสารเอาไว้ตั้งแต่ ปีพุทธศักราช ๒๕oo ว่ามีทั้งหมด ๘๒ รายการ อันได้แก่ ผงใบลานจารึกอักษรสันสกฤต , ผงใบลานพระศรีมหาโพธิ , ผงอิทธิเจ , ผงปัทมัง , ผงพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ , ผงอิติปิโสตรึงไตรภพ , ผงรัตนมาลา , ผงมงกุฏพระพุทธเจ้า , ผงเกราะเพชร , ผงมหานิยมใหญ่ , ผงพระฉิมพลี , ผงอิติปิโสแปดทิศ , ผงพระเจ้าเปิดโลก , ผงพระยาม้า , ผงเกสรดอกบัวหลวง , ผงเกสรดอกไม้ร้อยแปดชนิด , ผงยาอายุวัฒนะ , ผงผลไม้นานาชนิด , ผงผ้ากาสาวพัสตร์เนื้อบริสุทธิ์ , ผงนิล , ผงพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) , ผงทำพระรอดลําพูน , ผงพระเครื่องกรุพระแท่นดงรัง , ผงธูปในอุโบสถ วัดบ้านแหลม , ผงธูปพระร่วงโรจนฤทธิ์ พระปฐมเจดีย์ , ผงพระกรุวัดไก่เตี้ย , ผงดินป่าลุมพินีที่พระพุทธเจ้าประสูติ , ผงดินพุทธคยา , ผงดินพาราณสี , ผงดินตำบลสาลวัน แขวงเมืองกุสินารา , ผงดินใจกลางวัดต่าง ๆ ๙๙ แห่ง , ผงดินกลางใจไร่ ๙๙ แห่ง , ผงดินกลางใจสวน ๙๙ แห่ง , ผงดินวัดไทรตั้ง ปีนัง , ผงดินมหาสมุทรแปซิฟิคที่เกาะเวกค์ , ผงดินวัดเมยี ญี่ปุ่น , ผงดินซานฟรานซิสโก , ผงดินกรุงวอชิงตัน , ผงดินเมืองเดมเลอร์ , ผงดินเกาะฮอโนลูลู , ผงดินเมืองเซนต์หลุยส์ , ผงดินเมืองชิคาโก , ผงดินเมือง ดีทรอยส์ , ผงดินกรุงลอนดอน , ผงดินกรุงปารีส , ดินกรุงโรม , ผงดินประเทศกัมพูชา , ผงดินพม่า , ผงดินอาหรับ , ผงดินจอมปลวก , ผงดินโป่ง , ผงดินท่า , ผงดินป่า , ผงดินเขา , ผงทรายปาโจ นราธิวาส , ผงทรายขาว สงขลา , ผงทรายขาว ท่าหิน , ผงทรายชะอำ , ผงทรายสระแก้ว ลพบุรี , ผงอิฐ ยอดเขาสารพัดดี , ผงอิฐพระวิหาร พนมวัน , ผงอิฐวัดดอนเจดีย์ , ผงอิฐพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย , ผงอิฐพระสมุทรเจดีย์ น้ำพุเย็น อ.ฝาง , น้ำพุร้อนอ.ศรีราชา , น้ำตกแม่กลาง , น้ำตก ผาเลียบ , น้ำตกปาโจ , น้ำพระพุทธมนต์หล่อพระกริ่งพระชัยวัฒน์ วัดพระเชตุพน , น้ำพระพุทธมนต์ในรอยพระพุทธบาทเขาสารพัดดี , น้ำพระพุทธมนต์ในรอยพระพุทธมนต์พิธพุทธาภิเษกต่าง ๆ น้ำพระพุทธมนต์สรงพระธาตุจอมทอง , น้ำพระพุทธมนต์พระโมคคัลลาน์ สารีบุตร , แก้วแกลบ , ข้าวเหนียวดำ , หัวเผือกมันกลอย , ลิ้นทะเล , แร่พลวง , เศษเหล็กในพระวิหารวัดพระธาตุ อำเภอสรรค์ , เม็ดพระศรีมหาโพธิจากพุทธคยา อินเดีย ฯลฯ
ราคาเปิดประมูล130 บาท
ราคาปัจจุบัน150 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 04 ต.ค. 2566 - 13:15:22 น.
วันปิดประมูล - 05 ต.ค. 2566 - 13:54:21 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลมุกภูเก็ต (1.4K)(1)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     150 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Jombongkan29 (59)(3)

 

Copyright ©G-PRA.COM