(0)
พระกลีบบัวอรหัง หลวงปู่ไข่ วัดบพิตรพิมุขฯ จ.กรุงเทพฯ เนื้อดำ ผสมผงใบลาน ปี 2472 + บัตรรับรอง GPRA **เคาะเดียว**







ชื่อพระเครื่องพระกลีบบัวอรหัง หลวงปู่ไข่ วัดบพิตรพิมุขฯ จ.กรุงเทพฯ เนื้อดำ ผสมผงใบลาน ปี 2472 + บัตรรับรอง GPRA **เคาะเดียว**
รายละเอียดพระกลีบบัวอรหัง หลวงปู่ไข่ วัดบพิตรพิมุขฯ จ.กรุงเทพฯ เนื้อดำ ผสมผงใบลาน ปี 2472 + บัตรรับรอง GPRA **เคาะเดียว**

*องค์นี้เนื้อดำ ส่วนตัวมองเป็นเนื้อดำผสมผงใบลานครับ งานประกวดสมาคมยอมรับ เล่นหาเป็นเนื้อใบลาน *

ปิดไม่แพง พิจารณาชอบเรียนเชิญ ท่านที่ตามหาและสะสมครับ..

พระกลีบบัวอรหัง หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน กทม.เป็นพระเครื่องที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ออกแบบได้สวยงามมาก พิมพ์ทรงเป็นรูปหยดน้ำ มีปีกเนื้อล้นโดยรอบ ตรงกลางเป็นรูปพระพุทธรูป ปางสมาธิ ประทับนั่งบนอาสนะบัวคว่ำบัวหงาย ๑๑ กลีบ ล่างสุดเป็นตัวอักขระขอมอ่านได้ว่า "อรหัง" ด้านหลังบนสุดเป็นยันต์อุณาโลม ตรงกลางเป็นยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ ผูกเป็นยันต์ตามช่องเป็นภาษาขอมอ่านได้ว่า"นะ โม พุท ธา ยะ" องค์พระอรหังกลีบบัว เป็นพระเนื้อดินมีทั้งแบบเคลือบและไม่เคลือบ องค์ที่ไม่เคลือบจะมีสีขาวและสีส้มอมชมพู ส่วนพระที่ลงเคลือบมีหลายสี เช่น เคลือบเหลือง เคลือบเขียว เคลือบฟ้า เป็นต้น มีหลายเฉดทั้งอ่อนและเข้ม

พระกลีบบัวอรหัง หลวงปู่ไข่ องค์นี้เป็น เนื้อสีดำผงใบลาน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว หายาก ผสมดินขุยปู เนื้อละเอียด นำไปเผาไฟแรงสูง จนเนื้อแข็งแกร่งมาก องค์จริงตามรูป ครบทุกด้าน พิจารณาชอบเชิญครับ

ท่านนักสะสมพระเครื่องที่มีความเคารพศรัทธาใน หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน ไม่จำเป็นต้องขวนขวายหาแต่ของแพงๆ เช่น พระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก หรือเหรียญรูปเหมือนของท่าน ซึ่งมีราคาเป็นแสนเป็นล้านขึ้นไป แถมยังมี ของเก๊ ระบาดกลาดเกลื่อนไปทั่วทุกสนามอีกด้วย จึงขอแนะนำให้หันมาหา พระกลีบบัวอรหัง รับรองว่าพุทธคุณเหมือนๆ กัน แต่ราคาถูกกว่ากันมาก และน่าสะสมอย่างยิ่ง
ราคาเปิดประมูล550 บาท
ราคาปัจจุบัน2,550 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 09 ต.ค. 2566 - 20:05:41 น.
วันปิดประมูล - 10 ต.ค. 2566 - 20:09:27 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลมงคลถาวร (374)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 09 ต.ค. 2566 - 20:06:02 น.



*องค์นี้เนื้อดำผสมผงใบลาน เนื้อจัด แห้งเก่า ธรรมชาติ ส่วนตัวมองเป็นเนื้อผงใบลานครับ งานประกวดสมาคมยอมรับ เล่นหาเป็นเนื้อใบลาน *


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 09 ต.ค. 2566 - 20:06:27 น.



พระกลีบบัวอรหัง หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน กทม.เป็นพระเครื่องที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ออกแบบได้สวยงามมาก พิมพ์ทรงเป็นรูปหยดน้ำ มีปีกเนื้อล้นโดยรอบ ตรงกลางเป็นรูปพระพุทธรูป ปางสมาธิ ประทับนั่งบนอาสนะบัวคว่ำบัวหงาย ๑๑ กลีบ ล่างสุดเป็นตัวอักขระขอมอ่านได้ว่า "อรหัง" ด้านหลังบนสุดเป็นยันต์อุณาโลม ตรงกลางเป็นยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ ผูกเป็นยันต์ตามช่องเป็นภาษาขอมอ่านได้ว่า"นะ โม พุท ธา ยะ"


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 09 ต.ค. 2566 - 20:07:03 น.



ประวัติหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน (วัดบพิตรพิมุข)
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ถ้าจะกล่าวถึง หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน แล้วหลายๆ ท่านก็จะนึกถึงพระปิดตาของท่าน ซึ่งหาพระแท้ๆ ได้ยากจริงๆ และเป็นที่นิยมและเสาะหาของผู้ที่ชื่นชอบพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก นอกจากนี้ พระที่หายากที่สุดก็คือเหรียญหลวงปู่ไข่ ซึ่งนักสะสมเหรียญจะไม่ค่อยมีใครมีเหรียญของหลวงปู่ไข่เลย เนื่องจากว่ากันว่าสร้างจำนวนน้อยมาก เพราะสร้างเท่าจำนวนอายุของท่านคือเจ็ดสิบกว่าเหรียญเท่านั้น จึงเป็นเหรียญที่หายากที่สุดของเหรียญพระเกจิอาจารย์ของไทย และมีราคาสูงที่สุดด้วย เคยมีผู้ที่เช่าด้วยราคาสูงถึงสิบกว่าล้านครับ ในวันนี้เรามาคุยกันถึงชีวประวัติของท่านและพระอีกอย่างหนึ่งของท่านที่ราคา ไม่สูงมากนักกันดีกว่านะครับ

ประวัติหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน (วัดบพิตรพิมุข)
หลวงปู่ไข่ ท่านเป็นชาวแปดริ้ว เกิดที่ตำบลท่าไข่ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2400 โยมบิดาชื่อกล่อม โยมมารดาชื่อบัว เมื่อท่านอายุได้ 6 ขวบโยมบิดาได้นำท่านไปฝากกับหลวงพ่อปาน วัดโสธรฯ เพื่อให้เรียนหนังสือ ต่อมาจึงได้บวชเป็นสามเณร และได้ฝึกหัดเทศน์จนมีชื่อเสียงในทางเทศน์มหาชาติ เมื่อหลวงพ่อปานมรณภาพลงหลวงปู่ไข่จึงได้เดินทางไปอยู่กับพระอาจารย์จวง วัดน้อย อำเภอพนัสนิคม ชลบุรี จนท่านอายุได้ 15 ปี พระอาจารย์จวงก็มรณภาพลง ท่านจึงเดินทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหงษ์รัตนาราม บางกอกใหญ่ เรียนพระปริยัติธรรมอยู่ 3 ปี แล้วจึงย้ายไปอยู่กับพระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน สมุทรสงคราม ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรมจนอายุครบบวช หลวงปู่ไข่ จึงได้อุปสมบทที่วัดลัดด่าน โดยมีพระอาจารย์เอี่ยม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เนตร วัดบ้านแหลม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ภู่ วัดบางกะพ้อม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังจากนั้น หลวงปู่ไข่ ท่านก็ได้ไปเรียนวิปัสสนากรรมฐานกับพระอาจารย์รูปหนึ่งที่ จังหวัดกาญจนบุรี แล้วจึงกลับมาอยู่ที่วัดลัดด่านอีกครั้งหนึ่ง หลวงปู่ไข่ ท่านออกธุดงค์เป็นประจำทุกปี ท่านออกธุดงค์อยู่ได้ 15 ปี เวลาท่านธุดงค์ผ่านไปทางใด ถ้ามีผู้คนทุกข์ยากหรือเจ็บไข้ได้ป่วยท่านก็ช่วยรักษาให้หายโดยตลอด เกียรติคุณของท่านก็เป็นที่รู้จักจนมาถึงกรุงเทพฯ จึงมีผู้มานิมนต์ท่านให้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบ่างยี่เรือ 1 พรรษา แล้วท่านก็ออกธุดงค์ไปในป่าอีก ต่อมาท่านจึงได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ และเห็นว่าวัดบพิตรพิมุข (วัดเชิงเลน) เป็นวัดที่เงียบสงบดี จึงได้เข้ามาจำพรรษาอยู่ที่วัดพบิตรพิมุขตลอดมา ในระหว่างที่หลวงปู่ไข่จำพรรษาอยู่ ณ วัดบพิตรมุข หลวงปู่ไข่ได้ปฏิบัติทางธรรมและสร้างการกุศลหลายประการ ได้แก่ สอนพระกรรมฐานแก่บรรพชิตและฆราวาส ช่วยอนุเคราะห์แก่ผู้เจ็บไข้ได้ทุกข์ บริจาคทรัพย์ส่วนตัวและชักชวนบรรดาศิษย์และผู้ที่คุ้นเคยให้มาร่วมการทำบุญ เช่น สร้างพระพุทธปฏิมา ซ่อมพระพุทธรูปของเก่าที่ชำรุดหักพังให้ดีขึ้น สร้างพระไตรปิฎก โดยหลวงปู่ไข่ลงมือจารใบลานด้วยตนเองบ้าง ให้ช่างจารขึ้นบ้าง ซ่อมแซมกุฏิที่ชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้น สร้างกุฏิเป็นห้องแถวไม้ขึ้นอีกหลายกุฏิ ทั้งได้สร้างถนน สระน้ำ ถังรับน้ำฝน ขึ้นภายในบริเวณวัด สร้างแท่นสำหรับนั่งพักภายในคณะกุฏิให้เป็นที่สะดวกแก่พระภิกษุสามเณรที่อาศัยอยู่ในคณะนั้น เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏว่า เมื่อครั้งหลวงปู่ไข่จำพรรษาอยู่ตามหัวเมือง ก็ได้สร้างและปฏิสังขรณ์วัดต่าง ๆ มาแล้วหลายแห่ง


พระกลีบบัวอรหังหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน

ระหว่างที่ท่านอยู่ที่วัดนี้ท่านก็ได้สอนพระกรรมฐานแก่พระภิกษุสามเณรและ ฆราวาสเสมอมา นอกจากนี้ ก็ได้ช่วยรักษาผู้ที่ป่วยไข้ได้ทุกข์มากมาย ทั้งยังได้บอกบุญแก่ญาติโยมให้ช่วยสร้างพระพุทธปฏิมากร ซ่อมแซมพระพุทธรูปของเก่าที่ชำรุด สร้างพระไตรปิฎก และปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมกุฏิภายในวัด จนเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ ประวัติหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน (วัดบพิตรพิมุข)ท่านเป็นพระภิกษุที่มีความเมตตาธรรมสูง มีจริยาวัตรเรียบร้อยเคร่งครัด เป็นที่เคารพรักแก่บรรดาศิษยานุศิษย์ มีผู้รู้จักมากมายทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ต่อมาท่านได้เริ่มอาพาธด้วยโรคชรา และมรณภาพลงในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2475 สิริอายุได้ 74 ปี พรรษาที่ 54 หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน ได้สร้างพระเครื่องพระปิดตาและเหรียญรูปท่านไว้ให้แก่ศิษย์ ซึ่งปัจจุบันเป็นพระที่หายากมาก นอกจากนี้ ก็ยังมีพระกลีบบัวอรหัง ซึ่งสร้างไว้ในประมาณปีพ.ศ.2470 จำนวนมากหน่อยปัจจุบันยังพอหาได้ไม่ยากนัก สวยๆ ก็อยู่ที่หลักหมื่น


 
ราคาปัจจุบัน :     2,550 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Tonyman (304)

 

Copyright ©G-PRA.COM