(0)
เหรียญสมโภชช้างเผือกปี21จ.เพชรบุรี 3เนื้อ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญสมโภชช้างเผือกปี21จ.เพชรบุรี 3เนื้อ
รายละเอียดตามโบราณราชประเพณีมีคติความเชื่อว่า พระมหากษัตริย์มีบุญญาธิการ ต้องมีช้างเผือกคู่พระบารมีมาก แผ่นดินนั้นจะอุดมสมบูรณ์

โดยจะมีคชลักษณะ 7 ประการคือ ตาขาว เพดานขาว เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่ ขนหางขาว อัณฑโกสขาวหรือคล้ายสีหม้อใหม่ มีอยู่ 4 ตระกูล คือ อิศวรพงศ์ พรหมพงศ์ วิษณุพงศ์ และอัคนีพงศ์ แต่ละวงศ์มีลักษณะแตกต่างกันไป ทั้งงา และสีผิว

สำหรับในรัชกาลปัจจุบัน มีพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เป็นช้างเผือกช้างแรกที่เข้ามาสู่พระบารมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยรัชกาลปัจจุบันทรงมีช้างเผือกทั้งหมด 20 ช้าง ยังมีชีวิตอยู่ 11 ช้าง ล้มไปแล้ว 9 ช้าง

โบราณราชประเพณีแต่เดิมนั้น ในงานพระราชพิธีสำคัญ อาทิ งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา งานพระราชพิธีฉัตรมงคล หรือในงานพระราชทานเลี้ยงเพื่อเป็นเกียรติแก่พระราชอาคันตุกะ หรือผู้เป็นประมุขของต่างประเทศที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท จะต้องมีการนำช้างเผือกแต่งเครื่องคชาภรณ์ไปยืนที่แท่นเกยช้างด้านตะวันตก พระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อประกอบเกียรติยศ

เหรียญนี้เป็นเหรียญเนื้อทองแดง ทองแดงกลั่ยทอง ทองแดงกลั่ยเงิน ขนาด 2.4 X 4.1 c.m. สร้างขึ้นเนื่องในพระราชพิธีสมโภชน์ช้างเผือก 3 เชือก ณ จังหวัดเพชรบุรี เมื่อพ.ศ.2521
ราคาเปิดประมูล700 บาท
ราคาปัจจุบัน850 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 18 พ.ย. 2552 - 07:50:16 น.
วันปิดประมูล - 19 พ.ย. 2552 - 16:25:03 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลtongoner (405)(3)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 18 พ.ย. 2552 - 07:50:37 น.
.


ตามคติความเชื่อ ช้างเผือก หรือช้างสำคัญ หากเกิดในรัชกาลใด ถือเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองและราชบัลลังก์ จึงมีประเพณีประกอบพระราชพิธีสมโภช เพื่อขึ้นระวางเป็นพระยาช้างต้น หรือนางพระยาช้างต้น

คำว่า "ช้างต้น" หมายถึง ช้างที่ได้รับการขึ้นระวางเป็นช้างหลวงส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือช้างศึกที่ทรงใช้ออกรบ ช้างเผือกซึ่งมีลักษณะต้องตามตำราคชลักษณ์อย่างสมบูรณ์ และช้างสำคัญซึ่งมีลักษณะมงคลตามตำราคชลักษณ์ แต่ยังไม่สมบูรณ์ทุกส่วน

นับแต่โบราณมา กล่าวกันว่า เมื่อมีการพบช้างเผือกในรัชกาลใด เมื่อคล้องช้างเผือกมาได้แล้ว มักจะได้ลิงเผือก และกาเผือกตามมาด้วย จึงเชื่อกันว่าสัตว์ทั้ง 3 ชนิดนี้ อาจเป็นสหชาติคู่พระบารมี

การใช้ลักษณนามต่อท้ายจำนวนช้าง มีความละเอียดอ่อนมาก ช้างป่า ที่ยังไม่ถูกจับตัวมา เรียกว่า ?ตัว? เช่น ช้างป่า 1 ตัว ช้างป่าที่ถูกจับตัวมาแล้ว เรียกว่า ?เชือก? เพราะถูกคล้องมาด้วยเชือก

ส่วน "ช้างต้น" เมื่อผ่านพิธีสมโภชขึ้นระวางแล้ว จะเรียกว่า "ช้าง" เช่น ช้างต้นจำนวน 1 ช้าง

การเป็น "ช้างเผือก" และ "ช้างมงคล" มิได้ถ่ายทอดลักษณะโดยพันธุกรรมจากแม่สู่ลูก แต่เกิดเป็นลักษณะพิเศษขึ้นเองโดยธรรมชาติ จึงเชื่อกันว่าเป็นเพราะพระบารมีของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น เทวะจึงให้กำเนิดช้างซึ่งมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากช้างทั่วไป

ช้างเผือก จึงถือเป็น 1 ใน 7 รัตนะคู่บารมีของพระมหากษัตริย์ อันได้แก่ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว ขุนพลแก้ว ขุนคลังแก้ว ดวงแก้ว (มณี) และ นางแก้ว

ดังนั้น กว่าจะพบ "ช้างต้น" แต่ละช้าง จึงไม่ใช่เรื่องง่าย

ช้างต้น ยังแบ่งออกเป็น 4 ตระกูล เรียกตามนามแห่งเทวะผู้ให้กำเนิด ดังนี้

ช้างตระกูล พรหมพงศ์
เชื่อกันว่า พระพรหมเป็นผู้สร้าง ช้างตระกูลนี้ เมื่อมาสู่พระบารมีของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใด ย่อมยังให้เกิดความเจริญทั้งทางวัตถุ และวิทยาการต่างๆ

ช้างตระกูล อิศวรพงศ์
พระอิศวรเป็นผู้สร้าง เมื่อมาสู่พระบารมี บ้านเมืองจะมีความเจริญด้วยทรัพย์ และอำนาจ

ช้างตระกูล วิษณุพงศ์
พระวิษณุ (นารายณ์) เป็นผู้สร้าง เมื่อมาสู่พระบารมี เชื่อว่าทำให้มีชัยชนะต่อศัตรู ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล ผลาหาร ธัญญาหารจะบริบูรณ์

ช้างตระกูล อัคนิพงศ์
พระอัคนีเป็นผู้สร้าง เมื่อมาสู่พระบารมี เชื่อว่า บ้านเมืองจะเจริญด้วยมังสาหาร และมีผลในทางระงับศึก อันพึงจะเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้ว ทั้งยังมีผลในทางระงับความอุบาทว์ทั้งปวงอันเกิดแก่บ้านเมือง และราชบัลลังก์

ในบรรดาช้างเผือก ยังแบ่งออกเป็น 3 ประเภท แต่ละประเภท มีลักษณะอันเป็นมงคล 7 อย่าง คือตาสีขาว เพดานขาว เล็บขาว ขนขาว ขนหางขาว ผิวหนังสีขาวหรือสีหม้อดินเผาใหม่ และมีอัณฑโกศ (อวัยวะเพศ) สีขาวหรือสีคล้ายหม้อดินเผาใหม่

ช้างเผือกเอก
เรียกว่า "สารเศวต" เป็นช้างเผือกที่มีลักษณะถูกต้องสมบูรณ์ตามตำราคชลักษณ์ ลักษณะพิเศษ ร่างใหญ่ ผิวขาวบริสุทธิ์ดุจสีสังข์ เป็นช้างมงคลคู่บ้านคู่เมือง

ช้างเผือกโท
เรียกว่า "ปทุมหัตถี" สีผิวออกสีชมพู คล้ายกลีบดอกบัวแดงแห้ง เป็นช้างมงคลเหมาะแก่การศึก

ช้างเผือกตรี
เรียกว่า "เศวตคชลักษณ์" มีสีผิวดุจสีใบตองอ่อนตากแห้ง ถือเป็นอีกลักษณะของช้างมงคล



มีการตราไว้เป็นกฎหมายตั้งแต่สมัย ร.5 ว่า ช้างเผือกและช้างมงคลทุกช้าง ที่พบในแผ่นดิน จะต้องนำขึ้นน้อมเกล้าฯถวาย เพื่อให้เป็นช้างคู่พระบารมีของพระเจ้าแผ่นดิน

กาญจนา โอษฐยิ้มพราย หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติช้างต้น สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร บอกว่า
ช้างสำคัญที่ได้รับการสมโภชขึ้นระวางแล้ว จะได้รับพระราชทานนามใหม่ โดยเทียบชั้นยศเท่ากับ เจ้าฟ้า ฉะนั้น เวลาจะสื่อสารกับ ?ช้างต้น? จึงต้องใช้วาจาสุภาพ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชย์จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 60 ปี หลังจากพระองค์ทรงได้รับช้างแรกคือ พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ต่อมาได้พบช้างเผือกใหม่ เรื่อยๆ และได้มีการสมโภชมาจนถึงปี 2521 รวมทั้งสิ้น 10 ช้าง
หลังจากนั้น แม้จะพบช้างเผือก และช้างสำคัญคู่พระบารมีอีกถึง 11 ช้าง แต่มิได้มีพิธีขึ้นระวางอีก กระนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับช้างเหล่านั้นไว้เป็นช้างสำคัญ
?ช้างพลาย หรือช้างเพศผู้ เป็นช้างต้นและช้างสำคัญ ทุกช้างที่ยังมีชีวิตอยู่ จะไปยืนโรงอยู่ที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ส่วนช้างพังเพศเมีย จะไปยืนโรงที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร ยกเว้น พระเศวตฯเพียงช้างเดียว ที่พระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯให้ไปยืนโรงที่พระราชวังไกลกังวล? กาญจนาอธิบาย

ช้างสำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้ง 21 ช้าง เฉพาะที่ได้รับการสมโภชขึ้นระวางจำนวน 10 ช้าง เรียงตามลำดับการพบ

ได้แก่

พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ
พระเศวตวรรัตนกรีฯ
พระเศวตสุรคชาธารฯ
พระศรีเศวตศุภลักษณ์ฯ
พระเศวตสุทธวิลาสฯ
พระวิมลรัตนกิริณีฯ
พระศรีนรารัฐราชกิริณีฯ
พระเศวตภาสุร-คเชนทร์ฯ
พระเทพวัชรกิริณีฯ
พระเทพวัชรกิริณีฯ
และ พระบรมนขทัศฯ




อย่างไรก็ตาม ด้วยอายุขัยและระยะเวลาที่ยาวนาน มีบางช้างต้น ?ล้ม? ไปบ้าง
กาญจนายกตัวอย่าง ช้างต้นคู่พระบารมีที่สำคัญ และปัจจุบันยังยืนโรง หรือมีชีวิตอยู่ เช่น พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ซึ่งเป็นช้างแรกในรัชกาลคาดว่าช้างสำคัญช้างนี้ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2490 เป็นช้างลูกเถื่อน ถือกำเนิดในป่าจังหวัดกระบี่ เดิมชื่อว่า ?พลายแก้ว? พ.ศ. 2499 นายแปลก ฟุ้งเฟื่อง ผู้ขอสัมปทานจับช้าง พร้อมคณะได้สร้างคอกจับช้างไว้ที่บริเวณไร่แขก บ้านหนองจูด ต.ดินอุดม อ.ลำทับ จ.กระบี่ ?พลายแก้ว? เป็นลูกช้างติดแม่อยู่ในโขลงช้างป่าที่จับได้ จำนวน 6 เชือก ขณะนั้นคาดว่ามีอายุประมาณ 9 ปี



ต่อมา พล.ท.บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ประธานฯองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย นำลูกช้างพลายเชือกนี้ไปไว้ที่องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า ลูกช้างเชือกนี้มีลักษณะไม่ธรรมดา จึงได้เชิญพระราชวังเมือง (ปุ้ย คชาชีวะ) ทายาทของพระยาเพทราชา (อ๋อย คชาชีวะ) อดีตเจ้ากรมช้างในรัชกาลที่ 6 มาเป็นผู้ตรวจคชลักษณะพระราชวังเมืองตรวจพิจารณาอย่างถี่ถ้วนมีความเห็นว่า เป็นช้างสำคัญลักษณะสมบูรณ์ครบถ้วน ต้องตามตำราพระคชศาสตร์ จัดอยู่ในตระกูล ?พรหมพงศ์? จำพวก ?อัฐทิศ? ชื่อ ?กมุท? สมควรน้อมเกล้าฯถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2501 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินยังสวนสัตว์ดุสิต เขาดินวนา คณะกรรมการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทน้อมเกล้าฯถวายช้าง ?พลายแก้ว? ต่อมา เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2502 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้มีการพระราชพิธีสมโภช เพื่อขึ้นระวางเป็นช้างสำคัญ ณ โรงช้างต้น พระราชวังดุสิต

ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ "พระเศวต-อดุลยเดชพาหนฯ" ไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น พระราชวังไกลกังวล ทรงประกอบพระราชพิธีสมโภชโรงช้างต้น เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2548


 
ราคาปัจจุบัน :     850 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    mdkm11 (841)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM