(0)
พระสมเด็จเกศไชโยรุ่นสร้างเขื่อน พิมพ์7ชั้น (นิยม) 2495








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระสมเด็จเกศไชโยรุ่นสร้างเขื่อน พิมพ์7ชั้น (นิยม) 2495
รายละเอียดพระสมเด็จเกศไชโย รุ่นสร้างเขื่อน พิมพ์ ๗ ชั้น (นิยม) สร้างเมื่อปี ๒๔๙๕ วัดไชโยวรวิหาร มีส่วนผสมของสมเด็จวัดเกศไชโยที่แตกหักอยู่จำนวนมาก (ส่องกล้องดูจะเห็นครับ) จัดเป็นพิธีใหญ่ที่ วัดเกศไชโยวรวิหาร อ่างทอง ในเดือน เมษายน พศ.๒๔๙๕ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๕ ในพิธีพระสมเด็จเกศไชโย รุ่นสร้างเขื่อนนอกจากจะนิมนต์พระเกจิจารย์ดังในยุคนั้นแล้ว ยังได้อัญเชิญบารมี สมเด็จพุทธจารย์โต พรหมรังษี ด้วยการอธิฐานจิต โยนด้านสายสิญจน์จากรูปหล่อสมเด็จพุทธจารย์โต พรหมรังสี ไปยังพระสมเด็จเกศไชโย รุ่นสร้างเขื่อนด้วย
การกดพิมพ์พระสมเด็จเกศไชโย รุ่นสร้างเขื่อน ใช้วิธีการกดพิมพ์แบบโบราณ ผู้กดพิมพ์ต้องนุ่งขาว ห่มขาว ถือศีล ๕ กินเจ และอารธนาพระพุทธมนต์ในขณะกดพิมพ์พระสมเด็จเกศไชโย รุ่นสร้างเขื่อน การกดพิมพ์พระด้วยมือแบบโบราณ

วัดเกศไชโย เป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงหน้าฝนน้ำเหนือไหลบ่าลงมาทุกปี ปริมาณน้ำสูงมากทำให้ตลิ่งหน้าวัดถูกน้ำเซาะจนทำให้เสียหายทุกปี ทางวัดจึงจัดหาทุนสร้างเขื่อนกั้นน้ำ พระอาจารย์วร เจ้าอาวาสขณะนั้น และกรรมการวัดได้นำมวลสาร ชิ้นส่วนที่ชำรุดแตกหักของพระสมเด็จวัดเกศไชโยเก่าเดิม ผงมวลสารของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ และผงมวลสารเก่าที่เก็บรวบรวมไว้ มาสร้างเป็นพระสมเด็จ ๗ ชั้น , ๓ ชั้น และพระคะแนน
พิธีปลุกเสกพระสมเด็จ ๗ ชั้น, ๓ ชั้นและพระคะแนน รุ่นสร้างเขื่อน จัดเป็นพิธีใหญ่มากที่วัดเกศไชโยวรวิหาร อ่างทอง ในเดือน เมษายน พศ.๒๔๙๕ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๕ ในพิธีนอกจากจะนิมนต์พระเกจิอาจารย์ดังในยุคนั้นแล้ว ยังได้อัญเชิญบารมี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ด้วยการอธิษฐานจิต โยงด้ายสายสิญจน์จากรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี มายังวัตถุมงคลที่ปลุกเสกด้วย
พระสมเด็จ ๗ ชั้นรุ่นสร้างเขื่อน มีเอกลักษณ์เหมือนพระสมเด็จเกศไชโยรุ่นเก่า คือ ขอบมีกรอบกระจก อกเป็นร่อง หูมีบายสียาวใหญ่ การกดพิมพ์พระสมเด็จรุ่นสร้างเขื่อน ใช้วิธีการกดพิมพ์แบบโบราณ ผู้กดพิมพ์ต้องนุ่งขาว ห่มขาว ถือศีล๕ กินเจ และอาราธนาพระพุทธมนต์ในขณะกดพิมพ์พระ การกดพิมพ์พระด้วยมือแบบโบราณ ทำให้ด้านหลังขององค์พระสมเด็จ มีรอยปาดครูด รอยฝีแปรงปัด บางองค์มีรอยปริ แตกให้เห็น บางองค์หลังเรียบก็มี เนื้อพระสมเด็จ ๗ ชั้นรุ่นสร้างเขื่อน เป็นเนื้อผงแก่ปูนผ่านการบดตำค่อนข้างละเอียด ส่องดูเนื้อพระจะเห็นเม็ดผงสมเด็จเกศไชโยที่ผสมอยู่ มีความนุ่มเก่าเนื้อจัด (แตกต่างจากพระปลอมที่ทำเลียนแบบเนื้อพระจะแข็งกระด้าง)
จุดสังเกตของ พระสมเด็จ ๗ ชั้นรุ่นสร้างเขื่อน ปี๒๔๙๔ และ ปี๒๔๙๕
๑ ระหว่างกรอบกระจกด้านล่างจะไม่เต็ม มีรอยขีด
๒ ระหว่างฐาน ๗ ชั้น ด้านซ้ายมือขององค์พระจะมีรอยบล็อกแตก เป็นขีดนูนขึ้นให้เห็นเหมือนเส้น ขนแมว บางองค์จะเห็นลางๆ บางองค์จะไม่เห็น เนื่องจากการกดพิมพ์พระด้วยมือแบบโบราณ มีกดหนักบ้าง เบาบ้าง เนื้อพระสมเด็จ มีสีขาว สีเหลือง สีขาวอมชมพู
พิมพ์ที่ได้รับความนิยมสุดคือ สีเหลือง ปัจจุบันพระสมเด็จ ๗ ชั้นรุ่นสร้างเขื่อน ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ราคาไม่สูงมาก นับเป็นพระดีที่ควรมีเก็บไว้บูชาอีกรุ่นหนึ่ง ปัจจุบันเริ่มหายากแล้วครับ โดยเฉพาะพระรุ่นนี้ เป็นพระที่มีผงเก่าของพระสมเด็จเกศไชโยอยู่เป็นจำนวนมาก

ความเป็นมา
พระสมเด็จวัดเกศไชโย เป็น 1 ใน 3 ตระกูลพระสมเด็จที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) โดยได้บรรจุไว้ในองค์พระมหาพุทธพิมพ์ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ประดิฐฐานอยู่ภายในพระวิหารวัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นพระสมเด็จที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร นั่นคือจะต้องมีลักษณะของ อกร่อง หูบายศรี มีขอบกระจก เกือบทุกพิมพ์ทรง วงการพระเครื่องในปัจจุบันให้ความนิยมเป็นอย่างสูงและจัดรวมพระสมเด็จวัดเกศ ไชโยให้อยู่ในชุด เบญจภาคี เช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
วัดไชโยวรวิหารหรือวัดเกศไชโย ( ชื่อที่ปรากฏในพื้นที่คือ วัดเกศไชโย ) เป็นพระอารามหลวงชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เดิมทีเป็นวัดราษฏร์ สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาไม่มีประวัติแน่ชัดว่าใครสร้าง แต่มาปรากฏชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) แห่งวัดระฆังโฆษิตารามได้มาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้น เมื่อครั้งปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ประมาณปี 2400-2405 ซึ่งขณะนั้นท่านยังดำรงสมณะศักดิ์ที่ พระเทพกวี
การที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) มาสร้าง พระหลวงพ่อโต หรือที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้ภายหลังว่า พระมหาพุทธพิมพ์ ขึ้นไว้ที่นี่ ก็เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ระลึกถึงโยมมารดาซึ่งได้ร่วงลับไปแล้วและเป็นอนุสรณ์ สถานความผูกพันในช่วงชีวิตของท่าน เนื่องจากมารดาเคยพาท่านมาพักอยู่ที่ตำบลไชโยเมื่อตอนท่านยังเล็กๆ ซึ่งตามประวัตินั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ท่านมักสร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์เกี่ยวกับชีวิตของท่านไว้ตามสถานที่ต่างๆ ไว้มากมาย
คามบันทึกของพระยาทิพโกษา ( สอน โลหะนันท์ ) ได้กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) เป็นผู้สร้างขึ้น เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับโยมมารดาที่ชื่อ เกศ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ทรงสร้างพระพิมพ์สมเด็จ 7 ชั้น แล้วนำมาแจกรวมทั้งบรรจุกรุไว้ใน กรุวัดไชโยวิหาร ในคราวที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่วัดนี้ และประมาณการจากบันทึกต่างๆว่าน่าจะมีอายุการสร้างสมเด็จพิมพ์วัดเกศไชโย นั้นใกล้เคียงกับสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม
พระสมเด็จวักเกศไชโย จึงถือได้ว่าเป็นสมเด็จอีกตระกูลหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังษี ) ทั้งในด้านการปลุกเสก และบรรจุกรุ ส่วนผสมในการสร้างนั้นล้วนแล้วแต่เป็นของดีของวิเศษซึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) นำมาประสมกันเป็นเนื้อพระนั้น ส่วนใหญ่ใช้สูตรเดียวกับสมเด็จวัดระฆังฯ และสมเด็จบางขุนพรหม ประกอบด้วยมวลสารหลักได้แก่ ปูนเปลือกหอย ผงวิเศษ ( ผงอิทธิเจ ผงพุทธคุณ ผงปถมัง ผงมหาราช และผงตรีนิสิงเห ) ข้าวสุก กล้วยป่า ดอกไม้แห้ง และน้ำมันตั้วอิ้ว และมวลสารอื่นๆอีกมาก
ราคาเปิดประมูล1,900 บาท
ราคาปัจจุบัน2,400 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 09 ต.ค. 2553 - 21:09:15 น.
วันปิดประมูล - 11 ต.ค. 2553 - 00:18:57 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลwater-pong (1.4K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     2,400 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    dot666 (767)

 

Copyright ©G-PRA.COM