(0)
"" สุดยอดวัวธนู หลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ(ขนาดเล็ก)สายวิชาหลวงพ่อน้อยวัดศีรษะทอง








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง"" สุดยอดวัวธนู หลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ(ขนาดเล็ก)สายวิชาหลวงพ่อน้อยวัดศีรษะทอง
รายละเอียดสุดยอดวัวธนู หลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ(ขนาดเล็ก)สายวิชาหลวงพ่อน้อยวัดศีรษะทอง

พระครูสุนทรวุฒิคุณ (หลวงพ่อพุฒ สุนทโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดกลางบางพระ ตำบลบางพระ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

นามเดิมนั้นท่านมีชื่อว่า พุฒ นามสกุล หาญสมัย เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 12 ปี จอ ณ บ้านเลขที่ 8 หมู่ที่ 4 ตำบลบางพระ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม บิดาของท่านชื่อ นายขำ หาญสมัย มารดาของท่านชื่อนางปาน หาญสมัย ซึ่งท่านมีพี่น้องด้วยกัน 5 คน คือ 1. นางสาวบุญรอด หาญสมัย (ถึงแก่กรรมแล้ว) 2. พระครูสุนทรวุฒิคุณ (หลวงพ่อพุฒ สุนทโร) 3. นางปุ่น นาคละมัย 4. นายปั่น หาญสมัย 5. นางบุญนาค กลั่นสนิท (ถึงแก่กรรมแล้ว)

การศึกษาเล่าเรียนนั้น หลวงพ่อพุฒ ท่านได้ความรู้ติดตัวและได้เรียนมาจากวัด ซึ่งต่อมาหลวงพ่อพุฒได้จบการศึกษาสายสามัญ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดบางพระ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ครอบครัวของท่านแต่เดิมมีอาชีพทำนา

เมื่อท่านอายุได้ 20 ปี เข้ารับการคัดเลือกของราชการทหารให้เข้ารับราชการ หรือที่เราเรียกกันว่า “เกณฑ์ทหาร” ในที่สุดท่านก็ต้องเข้ารับใช้ชาติเป็นทหารรักษาพระองค์อยู่ถึง 2 ปี ได้กลับมาช่วยครอบครัว บิดา มารดา ของท่านทำงานอย่างขยันขันแข็งจนผู้คนในหมู่บ้าน และละแวกใกล้เคียง ชื่นชมยินดีส่งเสริมให้การทำงานอย่างจริงจังของท่าน ชีวิตความเป็นอยู่ก็อยู่ในกรอบศีลธรรมอันดีงามจนชาวบ้านในท้องถิ่นต่างเสนอ ให้ทางราชการแต่งตั้งท่านเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2489 ผู้ใหญ่พุฒก็ตัดชีวิตทางโลกเข้าสู่ร่มกาสาวพัตรในรูปพระสงฆ์ ณ พัทธสีมา วัดบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตของท่าน โดยมีเจ้าอธิการหิ่ม อินทโชโต เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ทองอยู่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์เปลี่ยน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ โดยได้รับฉายาว่า สุนทโร

เมื่อหลวงพ่อพุฒ หรือพระภิกษุพุฒในสมัยนั้น อุปสมบทใหม่ ๆ ท่านก็มีความมุ่งมั่นในการศึกษาพระธรรมวินัย และเมื่อท่านมีโอกาส ท่านก็ศึกษาตำรับตำราต่าง ๆ ซึ่งค่อนข้างจะแปลกกว่าพระรูปอื่น เพราะท่านไม่ชอบปล่อยเวลาให้ล่วงไปอย่างไร้ค่า ซึ่งตำรับตำราในสมัยนั้นก็หายากไม่มีมากมายเหมือนในสมัยปัจจุบัน หนังสือที่ท่านให้ความสนใจเป็นพิเศษส่วนมากก็จะเป็นหนังสือประเภทธรรมะ และตำรายาแผนโบราณ และในปีแรกนั้น พ.ศ. 2489 ท่านก็สามารถสอบนักธรรมชั้นตรีได้ ต่อมาอีก 2 ปี คือในปี พ.ศ. 2491 ท่านก็สามารถสอบนักธรรมชั้นโทและชั้นเอกได้มาโดยลำดับ

หลังจากที่หลวงพ่อพุฒได้อุปสมบทและศึกษาพระธรรมวินัย ตลอดจนวิชาคาถาอาคมต่าง ๆ รวมทั้งได้ออกธุดงค์ได้เพียง 6 พรรษา ในปี พ.ศ. 2495 เจ้าอาวาสองค์ที่ 6 แห่ง วัดกลางบางพระได้มรณภาพลงตามสังขาร ทางคณะสงฆ์ ชาวบ้าน ตลอดจนกรรมการได้นิมนต์หลวงพ่อพุฒ ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสของวัดกลางบางพระเป็นองค์ที่ 7 สืบต่อมา ได้รับนามว่า “พระอธิการพุฒ” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


วัสดุที่สำคัญที่สุดนั่นก็คือ "ครั่งพุทรา"ที่เกาะอยู่บนกิ่งพุทราชี้ไปทางทิศตะวันออกอย่างน้อยจาก 3 ต้นขึ้นไป

ตามตำราของสมเด็จพระพนรัตนได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ต้องเป็นกิ่งที่ชี้ไปทางทิศตะวันออกเท่านั้น จึงจะใช้ได้ ถ้าเป็นกิ่งที่ตายพราย ให้ใช้เพียงกิ่งเดียวก็พอ จะเพิ่มอิทธิฤทธิ์มากยิ่งขึ้น มีอยู่ครั้งหนึ่งที่หลวงพ่อพุฒได้เดินทางไปที่อำเภอเถินและได้เข้าไปในป่าพุทราได้พบครั่งเกาะอยู่บนกิ่งพุทราป่าที่ชี้ไปทางทิศตะวันออกตายพรายอยู่หลายสิบกิ่ง ท่านจึงให้ลูกศิษย์ขึ้นไปตัดและนำมาสร้างเป็น "วัวธนูครู" ตัวใหญ่ไว้ประจำตัว บูชาอยู่บนหิ้งในห้องส่วนตัวของท่าน ท่านบอกว่าวัวครูตัวนี้ไว้ควบคุมวัวธนูทุกตัว ทุกครั้งที่ท่านจะทำการสร้างและปลุกเสกวัวธนูจะต้องนำ "วัวธนู" ร่วมเป็นประธานในการปลุกเสกด้วยทุกครั้ง

ตอนนี้กลับมาที่วัตถุประกอบการสร้าง "วัวธนู" ต่อไป เมื่อหาครั่งพุทราเกาะกิ่งชี้ไปทางทิศตะวันออกได้แล้ว สิ่งที่ต้องจัดหาอีกก็คือ ลวดทองแดง และแผ่นทองแดง นำไปตัดทำโครงซึ่งเป็นโครงชั้นในทำง่ายๆ โดยดัดให้เป็นแกนตัว ขา คอ หาง และขา

โครงตัวช่วงคอบรรจุตะกรุดในพิธีก่อนนำเอาครั่งห่อหุ้ม ตะกรุดดังกล่าวลงอักขระเหล็กจารและม้วนในพิธีนั้น และต้องเตรียมแป้งเจิม แผ่นทองคำเปลวไว้ปิดตรงหน้าผากด้วย ขั้นตอนต่อไปต้องจัดเตรียมโรงพิธี และเครื่องบัดพลี สำหรับโรงพิธีจัดทำในโบสถ์มีราชวัตรฉัตรธง ส่วนภายนอกด้านหน้าโบสถ์ มีการสร้างเป็นชั้นแคร่สูงเพื่อวางเครื่องบัดพลีด้วย มีการชุมนุมเทวดา เครื่องสังเวยประกอบด้วยหัวหมู บายศรี อาหารคาวหวาน ตลอดจนผลไม้ เช่นมะพร้าวอ่อน กล้วยน้ำว้า ปูลาดด้วยผ้าขาว ปักธง 7 สี ขันลงหินใส่น้ำ

เมื่อเตรียมการเสร็จ พอได้ฤกษ์ยามตามกำหนด หลวงพ่อจะจัดแจงบูชาครูเข้าสูปะรัมพิธีสร้างวัว ส่วนผู้ที่จะเข้าร่วมพิธีปั้นวัวต้องเป็นพระทั้งหมด พระที่เข้าร่วมพิธีต้องปลงอาบัติก่อน แล้วท่านก็เอาครั่งทั้งหมดหยิบบริกรรมใส่ลงกระทะ ให้พระทำการเคี่ยวครั่ง ส่วนท่านจะนั่งบริกรรมคาถาตลอดเวลา จนกระทั่งครั่งละลายแล้วจึงนำผงพุทธคุณโรยใส่ผสมกวนให้เข้ากัน จากนั้นหลวงพ่อพุฒก็เรื่มจารอักขระในแผ่นทองแดงม้วนเป็นตะกรุด แล้วบรรจุที่ลวดทองแดงตรงช่วงคอ แล้วให้พระช่วยกันหยิบครั่งมาพวกปั้นเป็นรูปวัว ส่วนหลวงพ่อจะนั่งบริกรรมคาถาอยู่ในประรัมพิธี เมื่อปั้นได้ครบตามฤกษ์ ก็นำวัวมาตั้งเรียงกันโดยมี "วัวครู" วางข้างหน้า แล้วหลวงพ่อก็ทำพิธีปลุกเสกเมื่อเสร็จแล้วท่านจะใช้ทองคำเปลวปิดตรงหน้าผากพร้อมกับเจิมด้วยแป้ง แล้วประพรมน้ำมนต์เป็นอันเสร็จพิธี

การสร้างวัวธนูของหลวงพ่อพุฒแต่ละครั้ง ท่านบอกทำยากมาก กว่าจะหาครั่งพุทราได้ บางครั้งเดินทางไปไกลเช่น อุตรดิตถ์ ลำปาง นครราชสีมา ฯลฯ บางคราวเดินทางไปเอาครั่งได้เพียงกิ่งเดียวเท่านั้น กว่าจะรวบรวมสะสมครบตามกำหนดต้องใช้ระยะเวลาแรมปี บางปีไม่ได้เลยก็มี วัวธนูที่หลวงพ่อพุฒได้สร้างขึ้น มี 2 ขนาดคือ ขนาดตัวใหญ่ไว้บูชาอยู่กับบ้าน ขนาดตัวเล็กใช้ห้อยคอติดตัว

หลวงพ่อพุฒท่านว่าจะสร้างแต่ละครั้งทำได้ยากมาก ต้องหาฤกษ์หายาม หาครั่งเกาะกิ่งพุทรากิ่งชี้ไปทางทิศตะวันออก บางครั้งจึงให้ลูกศิษย์ที่อยู่ต่างจังหวัดหามาให้ มิฉะนั้นวัวธนูจะไม่ขลัง มีคนจะมาขอเช่าไปบูชาวัวธนูทีละหลายๆตัว หลวงพ่อพุฒบอกไปว่า เอาไว้แงให้คนอื่นเขาบ้าง บางคนเดินทางมาไกล หากไปหาเกิดไม่ได้สงสารเขานะ นับว่าหลวงพ่อท่านเมตตาต่อทุกคนที่เข้าไปหา ไม่ว่าใครก็ตามหากมีโอกาสเดินไปกราบนมัสการ รับประกันได้ไม่มีผิดหวังครับ ปัจจุบันท่านมรภาพแล้วครับ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน640 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 23 เม.ย. 2555 - 23:56:38 น.
วันปิดประมูล - 29 เม.ย. 2555 - 21:27:10 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลm_bkk (7.3K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 23 เม.ย. 2555 - 23:57:14 น.



พระครูสุนทรวุฒิคุณ (หลวงพ่อพุฒ สุนทโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดกลางบางพระ ตำบลบางพระ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

นามเดิมนั้นท่านมีชื่อว่า พุฒ นามสกุล หาญสมัย เกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 12 ปี จอ ณ บ้านเลขที่ 8 หมู่ที่ 4 ตำบลบางพระ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม บิดาของท่านชื่อ นายขำ หาญสมัย มารดาของท่านชื่อนางปาน หาญสมัย ซึ่งท่านมีพี่น้องด้วยกัน 5 คน คือ 1. นางสาวบุญรอด หาญสมัย (ถึงแก่กรรมแล้ว) 2. พระครูสุนทรวุฒิคุณ (หลวงพ่อพุฒ สุนทโร) 3. นางปุ่น นาคละมัย 4. นายปั่น หาญสมัย 5. นางบุญนาค กลั่นสนิท (ถึงแก่กรรมแล้ว)

การศึกษาเล่าเรียนนั้น หลวงพ่อพุฒ ท่านได้ความรู้ติดตัวและได้เรียนมาจากวัด ซึ่งต่อมาหลวงพ่อพุฒได้จบการศึกษาสายสามัญ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดบางพระ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ครอบครัวของท่านแต่เดิมมีอาชีพทำนา

เมื่อท่านอายุได้ 20 ปี เข้ารับการคัดเลือกของราชการทหารให้เข้ารับราชการ หรือที่เราเรียกกันว่า “เกณฑ์ทหาร” ในที่สุดท่านก็ต้องเข้ารับใช้ชาติเป็นทหารรักษาพระองค์อยู่ถึง 2 ปี ได้กลับมาช่วยครอบครัว บิดา มารดา ของท่านทำงานอย่างขยันขันแข็งจนผู้คนในหมู่บ้าน และละแวกใกล้เคียง ชื่นชมยินดีส่งเสริมให้การทำงานอย่างจริงจังของท่าน ชีวิตความเป็นอยู่ก็อยู่ในกรอบศีลธรรมอันดีงามจนชาวบ้านในท้องถิ่นต่างเสนอ ให้ทางราชการแต่งตั้งท่านเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2489 ผู้ใหญ่พุฒก็ตัดชีวิตทางโลกเข้าสู่ร่มกาสาวพัตรในรูปพระสงฆ์ ณ พัทธสีมา วัดบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตของท่าน โดยมีเจ้าอธิการหิ่ม อินทโชโต เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ทองอยู่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์เปลี่ยน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ โดยได้รับฉายาว่า สุนทโร

เมื่อหลวงพ่อพุฒ หรือพระภิกษุพุฒในสมัยนั้น อุปสมบทใหม่ ๆ ท่านก็มีความมุ่งมั่นในการศึกษาพระธรรมวินัย และเมื่อท่านมีโอกาส ท่านก็ศึกษาตำรับตำราต่าง ๆ ซึ่งค่อนข้างจะแปลกกว่าพระรูปอื่น เพราะท่านไม่ชอบปล่อยเวลาให้ล่วงไปอย่างไร้ค่า ซึ่งตำรับตำราในสมัยนั้นก็หายากไม่มีมากมายเหมือนในสมัยปัจจุบัน หนังสือที่ท่านให้ความสนใจเป็นพิเศษส่วนมากก็จะเป็นหนังสือประเภทธรรมะ และตำรายาแผนโบราณ และในปีแรกนั้น พ.ศ. 2489 ท่านก็สามารถสอบนักธรรมชั้นตรีได้ ต่อมาอีก 2 ปี คือในปี พ.ศ. 2491 ท่านก็สามารถสอบนักธรรมชั้นโทและชั้นเอกได้มาโดยลำดับ

หลังจากที่หลวงพ่อพุฒได้อุปสมบทและศึกษาพระธรรมวินัย ตลอดจนวิชาคาถาอาคมต่าง ๆ รวมทั้งได้ออกธุดงค์ได้เพียง 6 พรรษา ในปี พ.ศ. 2495 เจ้าอาวาสองค์ที่ 6 แห่ง วัดกลางบางพระได้มรณภาพลงตามสังขาร ทางคณะสงฆ์ ชาวบ้าน ตลอดจนกรรมการได้นิมนต์หลวงพ่อพุฒ ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสของวัดกลางบางพระเป็นองค์ที่ 7 สืบต่อมา ได้รับนามว่า “พระอธิการพุฒ” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


วัสดุที่สำคัญที่สุดนั่นก็คือ "ครั่งพุทรา"ที่เกาะอยู่บนกิ่งพุทราชี้ไปทางทิศตะวันออกอย่างน้อยจาก 3 ต้นขึ้นไป

ตามตำราของสมเด็จพระพนรัตนได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ต้องเป็นกิ่งที่ชี้ไปทางทิศตะวันออกเท่านั้น จึงจะใช้ได้ ถ้าเป็นกิ่งที่ตายพราย ให้ใช้เพียงกิ่งเดียวก็พอ จะเพิ่มอิทธิฤทธิ์มากยิ่งขึ้น มีอยู่ครั้งหนึ่งที่หลวงพ่อพุฒได้เดินทางไปที่อำเภอเถินและได้เข้าไปในป่าพุทราได้พบครั่งเกาะอยู่บนกิ่งพุทราป่าที่ชี้ไปทางทิศตะวันออกตายพรายอยู่หลายสิบกิ่ง ท่านจึงให้ลูกศิษย์ขึ้นไปตัดและนำมาสร้างเป็น "วัวธนูครู" ตัวใหญ่ไว้ประจำตัว บูชาอยู่บนหิ้งในห้องส่วนตัวของท่าน ท่านบอกว่าวัวครูตัวนี้ไว้ควบคุมวัวธนูทุกตัว ทุกครั้งที่ท่านจะทำการสร้างและปลุกเสกวัวธนูจะต้องนำ "วัวธนู" ร่วมเป็นประธานในการปลุกเสกด้วยทุกครั้ง

ตอนนี้กลับมาที่วัตถุประกอบการสร้าง "วัวธนู" ต่อไป เมื่อหาครั่งพุทราเกาะกิ่งชี้ไปทางทิศตะวันออกได้แล้ว สิ่งที่ต้องจัดหาอีกก็คือ ลวดทองแดง และแผ่นทองแดง นำไปตัดทำโครงซึ่งเป็นโครงชั้นในทำง่ายๆ โดยดัดให้เป็นแกนตัว ขา คอ หาง และขา

โครงตัวช่วงคอบรรจุตะกรุดในพิธีก่อนนำเอาครั่งห่อหุ้ม ตะกรุดดังกล่าวลงอักขระเหล็กจารและม้วนในพิธีนั้น และต้องเตรียมแป้งเจิม แผ่นทองคำเปลวไว้ปิดตรงหน้าผากด้วย ขั้นตอนต่อไปต้องจัดเตรียมโรงพิธี และเครื่องบัดพลี สำหรับโรงพิธีจัดทำในโบสถ์มีราชวัตรฉัตรธง ส่วนภายนอกด้านหน้าโบสถ์ มีการสร้างเป็นชั้นแคร่สูงเพื่อวางเครื่องบัดพลีด้วย มีการชุมนุมเทวดา เครื่องสังเวยประกอบด้วยหัวหมู บายศรี อาหารคาวหวาน ตลอดจนผลไม้ เช่นมะพร้าวอ่อน กล้วยน้ำว้า ปูลาดด้วยผ้าขาว ปักธง 7 สี ขันลงหินใส่น้ำ

เมื่อเตรียมการเสร็จ พอได้ฤกษ์ยามตามกำหนด หลวงพ่อจะจัดแจงบูชาครูเข้าสูปะรัมพิธีสร้างวัว ส่วนผู้ที่จะเข้าร่วมพิธีปั้นวัวต้องเป็นพระทั้งหมด พระที่เข้าร่วมพิธีต้องปลงอาบัติก่อน แล้วท่านก็เอาครั่งทั้งหมดหยิบบริกรรมใส่ลงกระทะ ให้พระทำการเคี่ยวครั่ง ส่วนท่านจะนั่งบริกรรมคาถาตลอดเวลา จนกระทั่งครั่งละลายแล้วจึงนำผงพุทธคุณโรยใส่ผสมกวนให้เข้ากัน จากนั้นหลวงพ่อพุฒก็เรื่มจารอักขระในแผ่นทองแดงม้วนเป็นตะกรุด แล้วบรรจุที่ลวดทองแดงตรงช่วงคอ แล้วให้พระช่วยกันหยิบครั่งมาพวกปั้นเป็นรูปวัว ส่วนหลวงพ่อจะนั่งบริกรรมคาถาอยู่ในประรัมพิธี เมื่อปั้นได้ครบตามฤกษ์ ก็นำวัวมาตั้งเรียงกันโดยมี "วัวครู" วางข้างหน้า แล้วหลวงพ่อก็ทำพิธีปลุกเสกเมื่อเสร็จแล้วท่านจะใช้ทองคำเปลวปิดตรงหน้าผากพร้อมกับเจิมด้วยแป้ง แล้วประพรมน้ำมนต์เป็นอันเสร็จพิธี

การสร้างวัวธนูของหลวงพ่อพุฒแต่ละครั้ง ท่านบอกทำยากมาก กว่าจะหาครั่งพุทราได้ บางครั้งเดินทางไปไกลเช่น อุตรดิตถ์ ลำปาง นครราชสีมา ฯลฯ บางคราวเดินทางไปเอาครั่งได้เพียงกิ่งเดียวเท่านั้น กว่าจะรวบรวมสะสมครบตามกำหนดต้องใช้ระยะเวลาแรมปี บางปีไม่ได้เลยก็มี วัวธนูที่หลวงพ่อพุฒได้สร้างขึ้น มี 2 ขนาดคือ ขนาดตัวใหญ่ไว้บูชาอยู่กับบ้าน ขนาดตัวเล็กใช้ห้อยคอติดตัว

หลวงพ่อพุฒท่านว่าจะสร้างแต่ละครั้งทำได้ยากมาก ต้องหาฤกษ์หายาม หาครั่งเกาะกิ่งพุทรากิ่งชี้ไปทางทิศตะวันออก บางครั้งจึงให้ลูกศิษย์ที่อยู่ต่างจังหวัดหามาให้ มิฉะนั้นวัวธนูจะไม่ขลัง มีคนจะมาขอเช่าไปบูชาวัวธนูทีละหลายๆตัว หลวงพ่อพุฒบอกไปว่า เอาไว้แงให้คนอื่นเขาบ้าง บางคนเดินทางมาไกล หากไปหาเกิดไม่ได้สงสารเขานะ นับว่าหลวงพ่อท่านเมตตาต่อทุกคนที่เข้าไปหา ไม่ว่าใครก็ตามหากมีโอกาสเดินไปกราบนมัสการ รับประกันได้ไม่มีผิดหวังครับ ปัจจุบันท่านมรภาพแล้วครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 23 เม.ย. 2555 - 23:57:40 น.



"" สุดยอดวัวธนู หลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ(ขนาดเล็ก)สายวิชาหลวงพ่อน้อยวัดศีรษะทอง


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 23 เม.ย. 2555 - 23:57:52 น.



"" สุดยอดวัวธนู หลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ(ขนาดเล็ก)สายวิชาหลวงพ่อน้อยวัดศีรษะทอง


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 23 เม.ย. 2555 - 23:58:03 น.



"" สุดยอดวัวธนู หลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ(ขนาดเล็ก)สายวิชาหลวงพ่อน้อยวัดศีรษะทอง


ข้อมูลเพิ่มเติม 5 - 23 เม.ย. 2555 - 23:58:32 น.



"" สุดยอดวัวธนู หลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ(ขนาดเล็ก)สายวิชาหลวงพ่อน้อยวัดศีรษะทอง


 
ราคาปัจจุบัน :     640 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    aonnung (77)(3)

 

Copyright ©G-PRA.COM