พรเศรษฐี
ยินดีรับปรึกษา-จัดหา พระเครื่อง และวัตถุมงคลยอดนิยมทุกชนิด
โทรศัพท์ : 088-4955588 อีเมล : mr.rachit@gmail.com
ยูสเซอร์เนมของเจ้าของชมรม : Chiu2002

  พระชัยวัฒน์ นิรันตราย 108 ปี วัดราชประดิษฐ์ ปี15


(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)

(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)


(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)


(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)

 

ประเภท   พระกริ่ง
พระชัยวัฒน์
ชื่อพระ   พระชัยวัฒน์ นิรันตราย 108 ปี วัดราชประดิษฐ์ ปี15
ราคาxxxx บาท.
สถานะ   ( 0 )
ชมรม   พรเศรษฐี
วันที่แก้ไข   2 มี.ค. 2554 16:47:42
รายละเอียด
พิธีใหญ่ ปี2515 สร้างพร้อมกับพระกริ่งโสฬส "มปร" แต่จำนวนสร้างน้อยกว่า และหายากกว่ามาก องค์ตามภาพสภาพสวยเดิมไม่ผ่านการใช้ ผิวแห้งเดิมๆ แม้พระจะมีขนาดเล็กแต่สามารถเห็น หน้าตา จมูก ปาก ได้ชัด น่าบูชา เก็บสะสม พระกริ่งโสฬส (กริ่ง มปร.) ปี๒๕๑๕ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม กทม. พิธีปลุกเสกอย่างยิ่งใหญ่ มีคณาจารย์ ซื่อดังทั่วทั้งประเทศ และทั้ง 4 ภาค มารวมนั่งปลุกเป็นจำนวน108 รูป ในหลวงทรงเสด็จ เททอง การจัดสร้างวัตถุมงคลนั้นทางคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ทิม) เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมปาโมกข์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์และ พลเอกประภาส จารุเสถียร รองหัวหน้าคณะปฏิวัติในขณะนั้นเป็นประธานฝ่ายฆราวาสโดยกราบบังคมทูลอัญเชิญ เชิญเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเสด็จฯ เททองหล่อ พระนิรันตราย (ขนาดบูชา) เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2515 จำนวน 908 องค์ ตามจำนวนสั่งจองจากนั้นจึงนำทองชนวนที่เหลือจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเททองไปจัดสร้าง พระกริ่งนิรันตราย ทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก, พระกริ่งสมเด็จพระสังฆราชสา (กริ่งโสฬส) และ เหรียญพระนิรันตราย ทั้งสองแบบ ดังกล่าวข้างต้นอย่างละ 50,000 องค์ เท่ากันยกเว้น พระบรมรูปรัชกาลที่ 4 ประทับยืนแบบเดียวกับองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ใน ปราสาทพระจอมเกล้า (ปราสาททรงพระปรางค์) สร้างจำนวน 108 องค์ และ ล็อกเกต จำนวนหลักร้อยเช่นกัน ซึ่งหลังการสร้างวัตถุมงคลเสร็จแล้วได้จัดทำ พิธีพุทธาภิเษกและมังคลาภิเษก ภายใน พระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ์ฯ ระหว่างวันที่ 16-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 รวม 9 วัน 9 คืน ซึ่งตรงกับช่วงวันสถาปนาวัดพอดีโดยนิมนต์พระคณา จารย์ผู้ทรงวิทยาคุณในขณะนั้น ทั่วพระราชอาณาจักร เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก คืนละ 12 รูป รวมทั้งหมด 108 รูป เท่ากับอายุของวัดราชประดิษฐ์ฯ ทุกประการโดยพระคณาจารย์ที่ทรงวิทยาคุณได้แก่ หลวงปู่แหวนวัดดอยแม่ปั๋ง, หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่, (ปกติแล้วหลวงปู่ทิมจะไม่ออกจากวัดละหารไร่ไปร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลที่ อื่น ๆ โดยเด็ดขาด จึงนับว่าพิธีในครั้งนี้เป็นกรณีที่พิเศษจริง ๆ โดยมีภาพถ่ายยืนยัน) หลวงปู่คร่ำวัดวังหว้า, หลวงปู่ดู่วัดสะแก, หลวงปู่เทียมวัดกษัตราธิราช, หลวงพ่อโชติ (ระลึกชาติ), หลวงปู่ขาววัดถ้ำกองเพล, หลวงปู่เทศก์วัดหินหมากเป้ง, หลวงปู่จันทร์วัดเลยหลง, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อมุ่ยวัดดอนไร่, หลวงพ่อถิรวัดป่าเลไลยก์, หลวงพ่อกี๋วัดหูช้าง, หลวงพ่อแพวัดพิกุลทอง, หลวงพ่อหลิววัดไร่แตงทอง, หลวงตามหาบัววัดป่าบ้านตาด ฯลฯ เป็นต้น. วัดราชประดิษฐฯ เป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๔ มีสมเด็จพระสังฆราช (สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดและเป็นเดียวของไทยที่สอบได้เปรียญธรรม ๑๘ ประโยคในสมัยนั้น และพระองค์ท่านก็ได้ทรงนิพนธ์โสฬสปัญหา (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อพระกริ่งโสฬส) ได้มีการจัดพิธีพุทธาภิเษก ในพระอุโบสถวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามเป็นเวลา ๙ วัน ๙ คืน ตั้งแต่วันที่ ๑๖ - ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ (ได้นำชนวนมาจาก การเททองหล่อพระนิรันตรายรุ่นแรก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเททอง) ในการครั้งนี้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้เมตามาเป็นประธานในการจุดเทียนชัย และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จทรงพระสุหร่ายวัตถุมงคลรุ่นนี้ ....... ในการครั้งนี้ทางวัดได้จัดสร้าง "พระกริ่งโสฬส, เหรียญพระนิรันตรายแบบพัดยศ, และแบบเสมา" ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ศิษยานุศิษย์ในการฉลองวัดครบรอบ ๑๐๘ ปี และได้มีการจัดพิธีปลุกเสกอย่างยิ่งใหญ่ และมีคณาจารย์ชื่อดังทั่วทั้งประเทศและทั้ง ๔ ภาค มาร่วมนั่งปรกเป็นจำนวน ๑๐๘ รูป และได้จัดพิธีปลุกเสกเป็นเวลา ๙ วัน ๙ คืน (วันละ ๑๒ รูป) ..... ในการครั้งนี้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้เมตามาเป็นประธานในการจุดเทียนชัย และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จทรงพระสุหร่ายวัตถุมงคลรุ่นนี้ พระคณาจารย์ที่นั่งปรกในวันแรกเท่าที่จำได้มีดังนี้ พระราชสุทธาจารย์ (หลวงพ่อโชติ ระลึกชาติ) เป็นประธาน ตามด้วย ......... หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, ......... หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, ......... หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี, ......... หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช, ......... หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า, ......... หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือ, ......... พระอาจารย์วัน อุตตโม ......... นอกจากนี้ยังมีพระคณาจารย์สายวิปัสสนาทั้ง ๔ ภาคร่วมนั่งอธิฐานจิตปลุกเสกเป็นเวลา ๙ วัน ๙ คืน นับว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่และหาได้ไม่ง่ายนักในสมัย ๓๐ กว่าปีที่ผ่านมา (พระคณาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกส่วนมากจะมรณภาพเกือบทุกรูปแล้ว) === การจัดสร้าง === พระกริ่งโสฬสเป็นพระกริ่งที่ฉีดชักกริ่งในตัว เนื้อทองเหลืองและรมดำ (บางองค์ก็ไม่มีเสียงกริ่ง) ชนวนที่นำหลอมฉีดพระกริ่ง และปั๊มเหรียญ ได้นำมาจากคณาจารย์ชื่อดังทั่วทั้ง ๔ ภาคของประเทศไทย ในการหลอมยันต์ในครั้งนี้ใช้เวลาในการหลอมเป็นเวลานานมาก เพราะยันต์ของคณาจารย์บางท่านกว่าจะหลอมละลายได้ ต้องใช้เวลานานพอสมควร ตามธรรมดาแล้ว แผ่นทองเหลือง, แผ่นทองแดง, เมื่อใส่ลงในเบ้าหลอมแล้วก็จะละลายโดยง่ายดาย แต่ยันต์ที่นำมาหลอมทำพระกริ่ง และเหรียญพระนิรันตรายนั้นหลอมละลายได้ยากมาก จำนวนในการสร้างครั้งนี้ทั้งเหรียญพระนิรันตรายและพระกริ่ง สร้างแบบละ ๕๐,๐๐๐ องค์เท่านั้น รูปแบบของพระกริ่งนั้น ด้านหน้าเป็นฐานกลีบบัว ด้านหลังประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ "มปร" กล่าวได้ว่าวัตถุมงคลรุ่นนี้ เป็นสิ่งที่ล้ำค่าหาได้ยาก ควรคู่แก่การมีไว้บูชาเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง.
  ยอดจอง 0  คน สมัครสมาชิก

 


Copyright ©G-PRA.COM