ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : ขออนุญาตสอบถามครับ นำพระที่ประมูลได้มาลงประมูลต่อส่งตรวจสอบว่าเป็นพระเก๊



(N)


ผมนำพระที่ประมูลได้ในห้องประมูล ชนะประมูลมาที่ 420
ผมนำมาลงประมูลต่อ ในราคา 2400 ผู้ชนะให้ส่งตรวจ ผลเป็นพระไม่แท้
ผมสามารถคืนพระที่ประมูลได้ตามกฏรับประกัน แต่ผมสามารถเรียกเก็บค่าส่งตรวจสอบได้ไหมครับ ในกรณีเป้นคนละกระทู้และวาระ แต่พระยังคงสภาพเดิมเหมือนตอนที่ชนะประมูลมาครับ
สมเด็จปรกโพธิ์ หลวงพ่อโหน่งวัดคลองมะดัน
https://www.g-pra.com/auction/view.php?aid=28061326
https://www.g-pra.com/auction/view.php?aid=28097992

2.6 สมาชิกจะต้องรับประกันพระแท้ตามมาตรฐานปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ระบุไว้บนหน้ารายการประมูลพระเครื่องก็ตาม ถ้าผู้ชนะประมูลได้ตรวจสอบพระเครื่องแล้วปรากฏว่าเป็นพระเครื่องไม่แท้ตามมาตรฐานปัจจุบันจริงจากผลการตรวจสอบของสถาบันการันตีพระ ผู้ตั้งประมูลจะต้องคืนเงินเต็มจำนวนให้แก่ผู้ชนะประมูลพร้อมทั้งค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบพระเครื่อง 500 บาท หากผู้ตั้งประมูลผิดข้อตกลงข้างต้น ผู้ตั้งประมูลยินดีให้ผู้ชนะประมูลขอข้อมูลส่วนตัวของผู้ตั้งประมูลนำไปดำเนินคดีกฏหมายอาญาต่อไปได้

อ่านแล้วเข้าใจว่าถ้าส่งตรวจสอบเอง เลยไม่แน่ใจครับ

โดยคุณ pra_yai (1.4K)  [พฤ. 14 ธ.ค. 2566 - 11:35 น.]



โดยคุณ nooing (28.3K)  [พฤ. 14 ธ.ค. 2566 - 11:57 น.] #4023047 (1/3)
ประมูลพระไม่รู้ที่มา เวลาส่งตรวจสอบก็ต้องส่งตรวจสอบเป็น "พระไม่รู้ที่เช่นกัน" การที่เป็นแบบนั้น เพราะถ้าเราไปทึกทักเอาเอง และไปชี้นำสำนักงาน เช่นประมูลพระ A ถ้าส่งแบบ A (ไม่รู้ที่) สำนักงานก็ตรวจเป็นแบบไม่รู้ที่ เพราะพระพิมพ์เดียวกัน อาจสร้างโดยเกจิอื่น ๆ ได้ ผลที่ออกมาก็อาจจะ " ไม่สรุปผล " นั่นคือไม่มีข้อมูล เพราะฉะนั้นจะคืนไม่ได้

แต่ถ้านำไปตรวจสอบโดยชี้นำว่าเป็นพระ B ระบุที่ไป ซึ่งก็อาจจะไม่เข้ามาตรฐานของหลวงพ่อนั้น ๆ ก็ทำให้ผลเป็นพระเก๊ได้

เพราะฉะนั้นหากจะอ้างอิงผลตรวจสอบให้เป็นธรรมผลตรวจสอบต้องตรงกับที่เค้าลงประมูล จึงจะสามารถใช้กติกาได้เต็มที่ เรื่องนี้จึงมีบทเรียนอยู่ 2 อย่าง

1. การเล่นพระไม่รู้ที่ ต้องมีความรู้ความสามารถอย่างเพียงพอ ไม่ใช่การคาดเดาเอาเอง เพราะจะเป็นแบบด้านบน
2. ให้คิดถึงหากเรานำพระไม่รู้ที่มาลงเอง แล้วเป็นแบบนี้ เราเองก็คงรับไม่ได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นใช้กฏ และหลักการให้ถูกต้องด้วยครับ

โดยคุณ pra_yai (1.4K)  [พฤ. 14 ธ.ค. 2566 - 12:27 น.] #4023048 (2/3)
ขอบคุณครับท่าน nooing ครับ
แบบนี้ผมรับพระกลับส่งใหม่เป็นพระไม่รู้ที่ อ้างกระทู้ประมูล ถึงจะใช้กฏได้ใช่ไหมครับ
และที่ยังไม่เข้าใจ ในกระทู้ที่ลง ทั้งที่ดูยังไงก็ทราบว่าเป็นพระอะไร และบางองค์ก็ยังมีบัตรรับรอง แต่ผู้ตั้งประมูลก็ยังลงว่าไม่ทราบที่ ไม่ทราบรุ่น แบบนี้จะเป็นการเลี่ยงหรือไม่ครับ และหรือถ้าทางเว๊บดูว่าอย่างไรก็เป็นพระไม่แท้ในพระที่ไม่ทราบที่ ก็ไม่ได้ Stop หรือหยุดการประมูล แบบนี้ความเสี่ยงก็ตกกับผู้เช่า 100% แล้วสมาชิกจะใช้กฏไหนช่วยเหลือผู้ร่วมประมูลครับ กรณีพระน้อยกว่า 999 บาทครับ ขอบคุณครับผม

โดยคุณ nooing (28.3K)  [พฤ. 14 ธ.ค. 2566 - 13:05 น.] #4023049 (3/3)
ไม่ต้องหาหาคนช่วยครับ ช่วยตัวเองดีที่สุด หลักการง่ายมาก พระไม่รู้ที่ เล่นที่เป็น เห็นว่าแน่ ค่อยกดประมูล / อะไรที่เสี่ยงก็ละเว้นเสีย จะเข้าไปยุ่งทำไม ถ้าเราไม่แน่พอครับ

ตัวผมยังไม่ค่อยยุ่งเลยถ้าไม่แน่จริง แต่ถ้าผมไปร่วมกับพระไม่รู้ที่แล้ว ผมก็คิดเสียว่า ทุกอย่างอยู่ที่ตัวเราจะไม่มาโวยวายภายหลังให้เสียหน้าตัวเองครับ

---------------------------------------------------------------------

อ้อ.....ส่วนคำถามว่าใช้กฏไหน แสดงว่าคุณยังอ่านไม่ดีพอ ก็ใช้กฏปกติ แต่เวลาส่งก็ต้องส่งแบบไม่รู้ที่เพื่อให้เข้ากติกามากที่สุด ผลออกมายังไงก็มีกฏรองรับทุกข้ออยู่แล้ว

-แท้ก็ดีไป ได้กำไรมาก ก็ไม่ได้คิดถึงคนขายอยู่แล้ว
-เก็ ก็คืน คนขายก็ต้องรับผิดชอบค่าออกบัตรให้คุณ
-ไม่สรุปผล ก็ยังคืนไม่ได้ ก็ต้องรับสภาพไป

กติกาชัดเจนวิน ๆ ทุกฝ่าย อย่าคิดแต่ว่าฝ่าเราจะเสียประโยชน์ ให้คิดเสียว่าจุดเริ่มต้นมาจากตัวเอง เอาตัวเข้าไปเกี่ยวข้อง

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM